Page 101 - kpi22228
P. 101

93



                       การชุมนุมของกลุมพันธมิตรฯ สรางผลกระทบอยางมาก เชน การบุกยึดสถานีโทรทัศนเอ็นบีที (NBT)

               บุกยึดสถานที่ราชการ รวมไปถึงเขาบุกยึดทําเนียบรัฐบาลจนรัฐบาลไมสามารถเขาใชพื้นที่ได นอกจากนี้
               ยังมีการเขาปดลอมสนามบินหลายแหง ซึ่งการชุมนุมของกลุมพันธมิตรฯ เปนไปอยางยืดเยื้อและไมมีทีทา

               วาจะยุติไดโดยงาย

                       ในที่สุดบทบาทของสมัคร สุนทรเวช ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีวาการกระทรวงกลาโหม
               ตองสิ้นสุดลงในชวงตนเดือนกันยายน 2551 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 9 ตอ 0 ชี้ขาดวาขาดคุณสมบัติการเปน

               นายกรัฐมนตรีจากการเปนพิธีกรรายการโทรทัศน ประชุมสภาผูแทนราษฎรไดมีมติเลือกสมชาย วงศสวัสดิ์

               รองหัวหนาพรรคพลังประชาชน ใหดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551
                       ยุครัฐบาลสมชาย วงศสวัสดิ์ เปนจุดเริ่มตนของความวุนวายทางการเมืองระลอกใหม เนื่องจากสถานะ

               ความเปนนองเขยของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร สงผลใหเกิดความไมพอใจขึ้นอยางมากใน

               กลุมผูชุมนุม จึงมีการเคลื่อนขบวนเขาปดลอมอาคารรัฐสภาในวันที่มีการแถลงนโยบายของรัฐบาลกอน
               เขาบริหารประเทศ จนเกิดเหตุการณในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ซึ่งเจาหนาที่ตํารวจใชแกสน้ําตาสลายกลุม

               ผูชุมนุมเพื่อเปดทางให ส.ส. เขาไปปฏิบัติหนาที่ในรัฐสภา จนเกิดการปะทะขึ้นระหวางตํารวจและผูชุมนุม

               กลุมพันธมิตรฯ สถานการณลุกลามบานปลายถึงขั้นมีผูเสียชีวิต 2 ราย และไดรับบาดเจ็บจํานวนกวา 500 คน
               ในจํานวนนี้มีผูไดรับบาดเจ็บสาหัสถึงขั้นสูญเสียแขน ขา และดวงตา ในวันรุงขึ้นกลุมพันธมิตรฯ

               ออกแถลงการณประณามตํารวจและรัฐบาล พรอมกับโจมตีผูบัญชาการทหารบกวาเลือกยืนขางฝายรัฐบาล

               (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 214) นอกจากนี้ ยังเกิดกระแสตอตาน ส.ส. พรรครวมรัฐบาลและเจาหนาที่รัฐ
               เพื่อตอบโตการสลายการชุมนุมของรัฐบาลในครั้งนั้นอีกดวย

                       รัฐบาลสมชาย วงศสวัสดิ์ สิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน

               พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย พรอมตัดสิทธิทางการเมืองหัวหนาพรรคและกรรมการบริหารพรรค
               เปนเวลา 5 ป จากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของยงยุทธ ติยะไพรัช ทําใหแกนนําพันธมิตรฯ ประกาศยุติ

               การชุมนุมที่ดําเนินมาถึง 192 วัน โดยยื่นเงื่อนไขวา ทางการตองถอนแจงความ และงดดําเนินคดีทั้งทางแพง

               และอาญากับกลุมพันธมิตรฯ ทุกคดี พรอมกันนี้ยังประกาศวาจะออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งทันที หากเห็นวา
               รัฐบาลใหมเปน “หุนเชิด” ของระบอบทักษิณ หรือมีความพยายามในการแกไขรัฐธรรมนูญ 2550

               ที่เอื้อประโยชนใหกับบุคคลในเครือขายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ

               2563, 216)
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106