Page 103 - kpi22228
P. 103

95



                       แมวาในชวงแรกของการบริหารราชการแผนดินของรัฐบาลอภิสิทธิ์จะเผชิญจากเสียงคัดคานและ

               วิพากษวิจารณถึงความชอบธรรมในการเขามาดํารงตําแหนงจากการสลับขั้วทางการเมืองจากประชาชน
               บางสวนในสังคม และเกิดการเคลื่อนไหวตอตานจากกลุมแนวรวมประชาธิปไตยตอตานเผด็จการ (นปช.) หรือ

               กลุมคนเสื้อแดงอยูหลายครั้ง แตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ยังคงเดินหนาบริหารประเทศตอไปไดอยางมั่นคง

                       กระทั่งในชวงเดือนมีนาคม 2552 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งกอนหนานี้ไดขออนุญาตศาลฎีกาฯ
               เดินทางออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551 และลี้ภัยการเมืองนับตั้งแตนั้นเปนตนมา ไดโฟนอิน

               (phone in หรือโทรศัพทเขามาปราศรัยในการชุมนุม) มายังการชุมนุมของกลุม นปช. กลุมผูชุมนุมยกระดับ

               การเคลื่อนไหวเปนเปดโปงการแทรกแซงทางเมืองของกลุมอํามาตย ที่พวกเขาเชื่อวาอยูเบื้องหลัง
               การรัฐประหาร และเกิดวาทกรรมทางการเมืองไพร-อํามาตย ขึ้นมา

                       สถานการณการชุมนุมใหญของกลุม นปช. ซึ่งมีการประเมินกันวามีประชาชนเขารวมมากถึง 3 แสน

               คน ในชวงตนเดือนเมษายน 2552 ไดลุกลามบานปลายและขยายวงกวางไปยังที่การจัดประชุมสุดยอดผูนํา
               อาเซียนวันที่ 10 เมษายน ที่โรงแรม รอยัล คลีฟ บีช รีสอรท พัทยา เมื่อแกนนําผูชุมนุมพยายามเขายื่นหนังสือ

               ตอตัวแทนเลขาธิการอาเซียน เพื่อคัดคานความชอบธรรมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จนเกิดเหตุการณปะทะกับ

               กองกําลังเสื้อสีน้ําเงิน ทําใหการประชุมตองยุติลง ขณะที่บรรยากาศการชุมนุมในเขตกรุงเทพฯ เริ่มสอเคา
               ความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ตัดสินใจประกาศสถานการณฉุกเฉินในเขตกรุงเทพฯ

               และปริมณฑลในวันที่ 12 เมษายน จับกุมแกนนําบางสวนและตัดสัญญาณการออกอากาศของสถานีโทรทัศนดี

               สเตชั่น ของกลุม นปช. จากนั้นใชกําลังทหารเขาสลายกลุมผูชุมนุมที่สามเหลี่ยมดินแดงเมื่อวันที่ 13 เมษายน
               สงผลใหวีระ มุสิกพงศ ตัดสินใจประกาศสลายการชุมนุมที่เวทีหลักขางทําเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 เมษายน

               และแกนนํา นปช.ถูกควบคุมตัวดําเนินคดีทันที เหตุการณในครั้งนั้นถูกจดจําตอมาวาเปนสงกรานตเลือด 2552

               (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ 2556)
                       การชุมนุมเคลื่อนไหวภายใตการนําของกลุมแนวรวมประชาธิปไตยตอตานเผด็จการแหงชาติ (นปช.)

               เริ่มตนขึ้นอีกครั้งในชวงเดือนมีนาคม 2553 โดยยื่นขอเรียกรองตออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยุบสภา

               เพื่อจัดใหมีการเลือกตั้งใหม โดยแกนนํา นปช.ตั้งเปาหมายไววาจะชุมนุมไมเกิน 7 วัน แตเมื่อผลการเคลื่อนไหว
               ดําเนินไปอยางนาพอใจ จึงมีการประกาศยกระดับเปนการชุมนุมยืดเยื้อในเวลาตอมา ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของ

               กลุม นปช.ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดขึ้นเพียงไมกี่วันภายหลังที่ศาลฎีกามีคําพิพากษายึดทรัพย พ.ต.ท. ทักษิณ

               ชินวัตร เปนเงิน 46,373,687,454.70 บาท พรอมดวยดอกผล ในโทษฐานร่ํารวยผิดปกติขณะดํารงตําแหนง
               นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ 2553 (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 203)

                       แมการเคลื่อนไหวของกลุมผูชุมนุม นปช.จะแยกตัวออกหางพรรคการเมืองและนักการเมือง

               ในเครือขายอดีตนายกรัฐมนตรี แตก็เปนที่รับรูโดยทั่วกันวา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย
               ใหการสนับสนุนการเคลื่อนไหวอยางเต็มที่ โดย พ.ต.ท. ทักษิณมีการโฟนอินเขามาปราศรัยและใหกําลังใจกลุม

               ผูชุมนุมอยูบอยครั้ง ขณะที่สมาชิกพรรคเพื่อไทยไดขึ้นเวที นปช.แดงทั้งแผนดินและแถลงสนับสนุน

               การเคลื่อนไหวอยางเปนทางการ นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคมใหการสนับสนุน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108