Page 106 - kpi22228
P. 106

98



                       เมื่อสถานการณดําเนินไปถึงจุดตึงเครียดและไมมีทีทาวาจะคลี่คลาย นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ ชินวัตร

               จึงตัดสินใจประกาศยุบสภาผูแทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 โดยกําหนดใหมีการเลือกตั้งขึ้นอีกครั้ง
               ในวันที่ 2 กุมภาพันธ 2557 ทวาสถานการณกลับไมคลี่คลายลงเนื่องจาก กปปส. ยังคงชุมนุมคัดคาน

               การเลือกตั้ง พรอมกับเรียกรองใหมีการปฏิรูปการเมืองกอนการเลือกตั้ง ซึ่งไดรับแรงหนุนจากหลายฝาย

               โดยเฉพาะชนชั้นกลางในเมือง และแรงหนุนจากที่ประชุมอธิการบดีแหงประเทศไทย (ทปอ.) นําโดย สมคิด
               เลิศไพฑูรย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ประธาน ทปอ. ที่แสดงทาทีแข็งขันในการคัดคานราง พ.ร.บ.

               นิรโทษกรรมเหมาเขง และเรียกรองการปฏิรูปกอนเลือกตั้ง (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 242)

                       การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ 2557 ยังคงดําเนินตอไป ทามกลางการขัดขวางของกลุม กปปส.
               ที่เคลื่อนมวลชนไปปดลอมหนวยเลือกตั้งตามที่ตาง ๆ ทําใหหลายเขตไมสามารถจัดการเลือกตั้งได

               แตถึงกระนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานสถานการณการเลือกตั้งในครั้งนั้นวา กกต.ในระดับ

               จังหวัดยังสามารถจัดการเลือกตั้งไดระดับหนึ่ง โดยมีเพียง 9 จังหวัด ในภาคใตที่ไมสามารถเปดใหประชาชน
               ลงคะแนนได ตอมามีผูยื่นเรื่องตอผูตรวจการแผนดิน เพื่อขอใหสงเรื่องตอไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวา

               การเลือกตั้งครั้งนี้เปนโมฆะหรือไม ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยดวยคะแนน 6 ตอ 3 เสียง ใหการเลือกตั้งเมื่อ

               วันที่ 2 กุมภาพันธ 2557 ไมชอบดวยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตามกฎหมายแลวตองกําหนดใหการเลือกตั้งเปน
               วันเดียวกันทั่วประเทศ (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 244-245)

                       นอกจากนี้ยิ่งลักษณ ชินวัตร ตองพนจากตําแหนงรักษาการนายกรัฐมนตรี ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ

               มีมติเปนเอกฉันทเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 จากกรณีแทรกแซงการโยกยายถวิล เปลี่ยนศรี จากตําแหนง
               เลขาธิการสภาความมั่นคงแหงชาติ คณะรัฐมนตรีที่เหลือจึงมีมติใหนิวัฒนธํารง บุญทรงไพศาล เปนผูปฏิบัติ

               หนาที่แทนนายกรัฐมนตรี ทามกลางบรรยากาศทางการเมืองที่ตึงเครียด จากการชุมนุมกดดันของกลุม กปปส.

               ที่สอเคารุนแรงและสุมเสี่ยงตอการเผชิญหนากับมวลชนฝายสนับสนุนรัฐบาล ขณะที่ฝายกองทัพเริ่มมี
               ความเคลื่อนไหว

                       ในที่สุด พล.อ. ประยุทธ จันทรโอชา ผูบัญชาการทหารบก ไดประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศในชวง

               กลางดึกของคืนวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 และตั้งตัวเปนเจาภาพในการหารือเพื่อผอนคลายสถานการณ
               ความขัดแยงทางการเมือง โดยการเรียกประชุมตัวแทน 7 ฝาย ประกอบดวย ผูแทนรัฐบาล วุฒิสภา

               คณะกรรมการการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปตย แกนนํา นปช. และตัวแทน กปปส. ที่สโมสร

               ทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต ระหวางวันที่ 21-22 พฤษภาคม ซึ่งในขณะที่การเจรจาวันที่สองกําลังดําเนินไปนั้น
               พล.อ. ประยุทธไดตัดสินใจประกาศยึดอํานาจในนาม “คณะรักษาความสงบแหงชาติ (คสช.)” เมื่อวันที่ 22

               พฤษภาคม 2557 นับเปนจุดสิ้นสุดของยุครัฐบาลพลเรือน กอนที่การเมืองไทยหลังจากนี้จะเขาสูชวงรอยตอ

               ภายใตรัฐบาล คสช. ไปสูยุคการเมืองภายใตรัฐธรรมนูญ 2560
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111