Page 105 - kpi22228
P. 105

97



                       จากเหตุการณกระชับพื้นที่ในครั้งนั้น สงผลใหมีผูเสียชีวิตรวมรอยและบาดเจ็บอีกนับพัน แตถึงกระนั้น

               นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังคงบริหารราชการแผนดินเรื่อยมา จนกระทั่งไดทูลเกลาฯ พระราชกฤษฎีกายุบสภา
               และทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ ลงมามีผลในวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 พรอมประกาศใหมี

               การจัดการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554


                       3.1.16 การเมืองในระยะเปลี่ยนผาน

                       ผลการเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยไดรับชัยชนะดวยจํานวน ส.ส. ทั้งสิ้น 265 ที่

               นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปตยได 159 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย 34 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง
               พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผนดิน 7 ที่นั่ง พรรคพลังชล 7 ที่นั่ง พรรครักประเทศไทย 4 ที่นั่ง พรรคมาตุภูมิ 2 ที่นั่ง

               พรรครักษสันติ พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม พรรคละ 1 ที่นั่ง รวม 500 ที่นั่ง สงผลใหพรรค

               เพื่อไทยทําการเสนอชื่อยิ่งลักษณ ชินวัตร เพื่อโปรดเกลาฯ ใหดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5
               สิงหาคม 2554 และเปนแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาลรวมกับพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผนดิน

               พรรคพลังชล พรรคมหาชน และพรรคประชาธิปไตยใหม รวม 300 เสียง ในสภาผูแทนราษฎร

                       นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ ชินวัตร ดําเนินการบริหารราชการดวยความระมัดระวังเปนอยางมาก
               แตยังคงเผชิญกับปฏิกิริยาตอตานจากฝายพันธมิตรฯ อยูบอยครั้งในชวงระยะแรกของการเขาดํารงตําแหนง

               นายกรัฐมนตรีนอกจากปญหาจากวิกฤตน้ําทวมใหญของประเทศ ยังมีปญหาสําคัญที่สงผลใหเสถียรภาพ

               ของรัฐบาลสั่นคลอนคือ นโยบายของรัฐบาลในการนําประเทศไทยไปสูสังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท
               ตามที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณไดแถลงตอรัฐสภาในคราวเขาดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี การเรงผลักดันใหเกิด

               ความปรองดองสมานฉันทของรัฐบาลนําไปสูการเสนอรางพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแกผูซึ่งกระทําความผิด

               เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง 19 กันยายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2554 แต ราง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ
               ฉบับดังกลาวถูกวิพากษวิจารณอยางรุนแรง (บัณฑิต จันทรโรจนกิจ 2563, 235-239) ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณไดนํา

               ราง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเขง เขาสูการพิจารณาของสภาผูแทนราษฎรในชวงกลางดึกของคืนวันที่ 1

               พฤศจิกายน 2556 และผานการเห็นชอบจากสภาผูแทนราษฎรในวาระที่ 3 จากนั้นราง พ.ร.บ.ฉบับดังกลาว
               ถูกสงไปพิจารณาในชั้นวุฒิสภาอยางรวดเร็ว สรางความไมพอใจใหกับประชาชนทั้งสองฝาย

                       ความเคลื่อนไหวตอตานราง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเขง เกิดขึ้นอยางกวางขวางและเปนการ

               เคลื่อนไหวชุมนุมใหญนําโดยอดีตแกนนํากลุมพันธมิตรฯ และตอมาสุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศเขารวมดวย
               ทําใหฝายรัฐบาลมีมติถอนราง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเหมาเขงออกตามที่พรรคฝายคานเสนอ ตอมาวันที่ 11

               พฤศจิกายน วุฒิสภามีมติยับยั้งราง พ.ร.บ.ฉบับดังกลาว 180 วัน แตการชุมนุมตอตานยังไมยุติลง ทวายังมี

               การยกระดับขึ้นเปนการตอตานระบอบทักษิณและขับไลรัฐบาลยิ่งลักษณ ชินวัตร ภายใตชื่อ “คณะกรรมการ
               ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยใหเปนประชาธิปไตยสมบูรณอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข

               (กปปส.)” นําโดย สุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะเลขาธิการ กปปส.
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110