Page 96 - kpi22228
P. 96

88



               สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง “Vote No” (หรือ กาชองไมประสงคลงคะแนน) เพื่อสะทอนขอเรียกรองและจุดยืน

               ทางการเมืองของประชาชนบางสวนที่กังขาตอความชอบธรรมในตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพรรคไทยรักไทย
                       ผลการเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทยไดคะแนนเสียงในระบบบัญชีรายชื่อกวา 16.4 ลานเสียง คะแนน

               เสียงของผูไมประสงคลงคะแนนกวา 9.5 ลานเสียง และบัตรเสียกวา 1.68 ลานเสียง แตผูสมัครรับเลือกตั้ง

               ส.ส. ระบบแบงเขตของพรรคไทยรักไทยพายแพคะแนน “ไมประสงคจะลงคะแนน” ในหลายเขตเลือกตั้ง
               โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและเขตเลือกตั้งในภาคใต ทําให พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รักษาการ

               นายกรัฐมนตรี และหัวหนาพรรคไทยรักไทย ประกาศเวนวรรคทางการเมืองโดยไมขอรับการเสนอชื่อให

               ดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีจากสภาผูแทนราษฎร
                       ตอมาฝายตอตานรัฐบาลไดยื่นเรื่องตอศาลรัฐธรรมนูญใหวินิจฉัยการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน

               2549 เปนโมฆะ ศาลรัฐธรรมนูญไดแถลงคําวินิจฉัยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ใหการเลือกตั้งครั้งดังกลาว

               เปนโมฆะ จะตองจัดใหมีการเลือกตั้งใหม ขณะที่ศาลปกครองวินิจฉัยใหการเลือกตั้งไมชอบดวยกฎหมาย
               เนื่องจากจัดคูหาเลือกตั้งหันออกนอกหนวยเลือกตั้งสงผลใหการเลือกตั้งไมเปนความลับ พรอมทั้งสั่งจําคุก

               คณะกรรมการการเลือกตั้งในโทษฐานละเวนการปฏิบัติหนาที่และปฏิบัติหนาที่โดยมิชอบ และ

               ทําการชวยเหลือพรรคไทยรักไทย โดยจําคุกคนละ 4 ป บทบาทของศาลฝายตาง ๆ เปนจุดกําเนิดของ
               “ตุลาการภิวัฒน” ในประวัติศาสตรการเมืองไทย



                       3.1.13 การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
                       แมวาบรรยากาศความขัดแยงทางการเมืองจะคลี่คลายลง แตสถานการณกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง

               เมื่อ พ.ต.ท. ทักษิณแสดงทาทีวาจะไมลงจากตําแหนงและจะลงเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนตุลาคม 2549

               นอกจากนี้ พ.ต.ท. ทักษิณยังเปดประเด็นเรื่อง “ผูมีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ในที่ประชุมหัวหนาสวนราชการ
               เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 วาเปนผูอยูเบื้องหลังขบวนการตอตานรัฐบาลทั้งหมด

                       ในชวงเดือนสิงหาคม 2549 ความไมพอใจตอรัฐบาลเริ่มขยายวงกวางไปสูนายทหารในกองทัพบก

               โดยมีกระแสขาวหนาหูเรื่องนายทหารในกองทัพจะกอการรัฐประหาร แต พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน
               ผูบัญชาการทหารบก ไดแถลงทาทียืนยันวาทหารจะไมทําการรัฐประหารแตอยางใด

                       ในขณะที่นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณอยูระหวางการปฏิบัติภารกิจที่สหรัฐอเมริกา คณะทหารกลุม

               หนึ่งในนาม “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข” (คปค.)
               นําโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ผูบัญชาการทหารบก พล.ท. สพรั่ง กัลยาณมิตร แมทัพกองทัพภาคที่ 3

               พล.ท. อนุพงษ พงศสุวรรณ แมทัพกองทัพภาคที่ 1 ฯลฯ รวมกันกอรัฐประหารโคนลมรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ

               ชินวัตร ในวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยอางเหตุผลวา รัฐบาลไดกอใหเกิดความแตกแยกในชาติอยางที่ไมเคย
               ปรากฏมากอนในประวัติศาสตร การบริหารราชการสอไปในทางทุจริตประพฤติมิชอบ และเอื้อผลประโยชน

               ตอพวกพอง อีกทั้งยังมีการดําเนินกิจกรรมทางการเมืองที่อาจหมิ่นเหมตอการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101