Page 13 - 21211_fulltext
P. 13

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                          “หน่วยวิเคราะห์” ในที่นี้นับรวมผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการและลูกจ้าง
                          พนักงานท้องถิ่น และประชาชน เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนได้และส่วนเสียจาก
                          นโยบายควบรวมและการให้บริการของท้องถิ่น

                        ๏  การวิเคราะห์กระบวนการนโยบายสาธารณะ (policy study) โดยอาศัย
                          กรอบคิดตามรัฐประศาสนศาสตร์ เนื่องจากข้อเสนอการควบรวมฯ เป็นการ

                          เปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ระดับชาติ จำเป็นต้องสร้างความเห็นประชามติ
                          หมายถึง รัฐบาล รัฐสภา การเมืองท้องถิ่น และพลเมือง การเคลื่อนนโยบาย
                          สาธารณะโดยทั่วไปมีขั้นตอนหรือกระบวนการ กล่าวคือ หนึ่ง การระบุ
                          ประเด็นนโยบายหรือมาตรการ (policy identification) สอง การทำให้

                          เป็นวาระแห่งชาติ (policy agenda)  ซึ่งในประการนี้สภาขับเคลื่อน
                                                          1
                          การปฏิรูปประเทศ เป็นองค์กรนำที่ผลักดันความคิด พร้อมจัดทำข้อเสนอ
                          กลายเป็นประเด็นที่รับรู้ทั่วประเทศ ส่งผลต่อการถกเถียงและอภิปราย
                          ในทางสังคม (social discussion) สาม การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

                          (policy implementation) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและผลกระทบ
                          กว้างขวาง  ในทางทฤษฎีคาดว่าเมื่อการควบรวมสำเร็จอาจเกิดผลดีต่อ
                          ส่วนรวม อาทิเช่น การประหยัดงบประมาณของรัฐ ประสิทธิภาพของ
                          บริการที่ดีขึ้น และการลดความเหลื่อมล้ำบางส่วน อย่างไรก็ตาม มาตรการ

                          ควบรวมส่งผลกระทบทางลบในส่วนบุคคล ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมี
                          ผู้ไม่เห็นด้วย คัดค้าน ไม่ร่วมมือ เนื่องจาก ก) การลดหน่วยงาน ลดตำแหน่ง
                          ปลัด/หัวหน้ากอง เมื่อควบรวมองค์กรเข้าด้วยกัน ข) การแข่งขันทางการเมือง
                          เพื่อเข้าสู่สภาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ค) ต้นทุนของการปรับตัวและค่าโสหุ้ย

                          ด้วยเหตุนี้อาจเป็นการสมควรที่รัฐจะสร้างแรงจูงใจให้ควบรวม เพื่อ
                          ประชาสัมพันธ์ และสร้างกระบวนการยอมรับ หรือมาตรการชดเชยบางส่วน
                          ให้ผู้รับผลกระทบ


                    1   จากข้อเสนอของ สปท.  ถือว่าเป็นการปฏิรูปขนานใหญ่ ตามที่ระบุในเอกสารให้เทศบาล และ
                 อบต. ที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า 7,000 คน เข้ากระบวนการควบรวม  ดังนั้น มีหน่วยงานที่เข้าข่าย
                 จำนวนหลายพันหน่วยงาน แต่เนื่องจาก สปท. ได้สลายองค์กรไปภายหลังรัฐธรรมนูญ 2560 มีผลบังคับใช้
                 จำเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบการขับเคลื่อนนโยบาย (policy implementation) ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า
                 อนาคตจะเป็นอย่างไร ในส่วนของนักวิจัยเห็นว่า กระบวนการควบรวมท้องถิ่น อาจจะยาวนาน (นับสิบปี)
                 เนื่องจกจำเป็นต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยอมรับแนวคิดและเข้าใจกระบวนการ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจ
                 และมาตรการชดเชยผู้สูญเสียผลประโยชน์



              XII สถาบันพระปกเกล้า
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18