Page 15 - 21211_fulltext
P. 15
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ประการที่สาม คุณภาพของบริการสาธารณะท้องถิ่น มีความสำคัญและจำเป็น
ต้องนำมาพิจารณา จากตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (local
performance assessment : LPA) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวง
มหาดไทย (ค่าคะแนนมีช่วงพิสัย 0-100) พบว่า อปท. ขนาดใหญ่มีแนวโน้มได้ค่า
คะแนน LPA สูงกว่าขนาดเล็ก สาเหตุเช่นนี้จึงสันนิษฐานว่า ก) การจัดบริการสาธารณะ
ในท้องถิ่นขนาดเล็กไม่ครบถ้วนหรือไม่ทั่วถึง ข) การจัดกิจกรรมหรือการให้บริการ
สาธารณะในท้องถิ่นขนาดเล็ก น้อยหรือไม่ทั่วถึง ในขณะที่ท้องถิ่นขนาดปานกลางและ
ขนาดใหญ่จัดกิจกรรมและบริการสาธารณะได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งหมดนี้มีสาเหตุ
หรือที่มา คือ (1) ฐานะการเงินของ อปท. ขนาดเล็ก ด้อยกว่า (2) การจัดกิจกรรมที่มี
ผู้ใช้บริการจำนวนน้อยทำให้เจ้าหน้าที่ขาดความกระตือรือล้น หรือประเมินว่า
“ทำกิจกรรมแล้วไม่คุ้มค่า” โดยอ้างว่า “ประชาชนสามารถช่วยตนเองได้” ตัวอย่างเช่น
อบต. อ้างว่า ประชาชนช่วยเหลือตนเองในการจัดเก็บขยะได้ (หมายเหตุ อาจจะเป็นไปได้
ว่า ประชาชนใน อบต. ที่ไม่มีบริการจัดเก็บขยะ นำขยะไปทิ้งในเขตเทศบาลใกล้เคียง)
ประการที่สี่ จากผลสำรวจเทศบาล และ อบต. ขนาดเล็ก โดยสุ่มจาก อปท.
ในกลุ่ม rankpop < 501 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 159 แห่ง นำมา
วิเคราะห์สรุปความได้ว่า ก) เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่รับทราบนโยบายการควบรวม
ของรัฐบาล ข) 1 ใน 3 ของท้องถิ่นมีการเตรียมการระดับหนึ่ง กล่าวคือ การนำมา
อภิปรายในสภาท้องถิ่นหรือปรึกษาหารือร่วมกันในส่วนผู้บริหารและข้าราชการระดับสูง
ค) ท้องถิ่นตีความว่า “รัฐบาลยังมิได้ส่งสัญญาณการผลักดันให้ควบรวมอย่างจริงจัง”
เนื่องจากไม่มีการแจ้งขั้นตอนและวิธีการควบรวม ง) ผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่
(ประมาณ 2 ใน 3) เห็นพ้องกับข้อเสนอที่ว่า “ตำบลเดียวกันควรจะมี อปท. แห่งเดียว”
จ) ผู้บริหารส่วนหนึ่งเห็นด้วยว่ามาตรการควบรวมจะส่งผลดี ในแง่การลดความเหลื่อมล้ำ
ระหว่าง 2 พื้นที่ ตัวอย่างเช่น เทศบาลตำบลพื้นที่ขนาดเล็ก แต่รายได้ต่อหัวสูงมาก
ในขณะที่ อบต. พื้นที่ใหญ่แต่ว่ารายได้ต่อหัวต่ำ การจัดบริการสาธารณะไม่ครบถ้วน
ประการที่ห้า จากตัวอย่างในอดีตพบว่า มี 2 กรณีศึกษาที่ควบรวมสำเร็จ
คณะวิจัย ได้ขอข้อมูลเชิงลึกโดยการสัมภาษณ์และการประชุมกลุ่มย่อย ได้รับการยืนยันว่า
การควบรวมเกิดผลดีต่อการจัดสรรทรัพยากร ประหยัด คุณภาพบริการเพิ่มขึ้น
ประจักษ์ได้จากกรณีศึกษา (เทศบาลวังน้ำเย็นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดีตาม
XIV สถาบันพระปกเกล้า