Page 16 - 21211_fulltext
P. 16

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                     หลักธรรมาภิบาลหลายครั้ง)  สำหรับกรณีควบรวมสำเร็จที่สอง คือ อบต.วังเหนือ และ
                     เทศบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง ควบรวมเข้าด้วยกัน ในปลายปี 2560 ขณะนี้ยังเร็วเกินไป
                     ที่จะประเมินผลลัพธ์ในมิติคุณภาพการให้บริการสาธารณะ

                           ประการที่หก การเสนอเหตุผล 4 ประการที่สมควรควบรวมเข้าด้วยกัน สะท้อน

                     ใน 4 ตัวแปร ตัวแปรแรก R1 คะแนนประเมินบริการสาธารณะต่ำเกินไป ตัวแปรที่สอง
                     R2 การที่รัฐต้องให้เงินอุดหนุนต่อหัวสูงมากในท้องถิ่นขนาดเล็ก ตัวแปรที่สาม R3
                     ความด้อยประสิทธิภาพ สะท้อนในรายจ่ายค่าจ้างบุคคลากรต่อหัว (personal expense

                     per capita) สูง ตัวแปรที่ R4 การที่จำนวนพนักงานต่อประชากรพันคน (local staff
                     per 1000 population) สูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

                           ประการที่เจ็ด แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้ คือ การควบรวมโดยสมัครใจ ทั้งนี้
                     มีความจำเป็นต้องออกแบบเงินอุดหนุนเพื่อการจูงใจ เนื่องจากในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน

                     — เทศบาล และ อบต. มีภาระและค่าใช้จ่ายหลายประการ อาทิ การรณรงค์
                     การประชาสัมพันธ์ การจัดทำประชามติ การปรับปรุงบัญชีทะเบียนทรัพย์สิน แผนที่

                     ภาษี ทะเบียนราษฎร ฯลฯ

                           และประการที่แปด จากการลงพื้นที่ภาคสนาม ช่วยให้เข้าใจผลกระทบทางลบ
                     ต่อพนักงานท้องถิ่น อาทิเช่น การลดตำแหน่งปลัดเป็นรองปลัด การสูญเสียตำแหน่ง
                     หัวหน้ากองและค่าตอบแทน ฯลฯ อาจจะมีเหตุผลสมควรในการกำหนดมาตรการชดเชย

                     หรือแนวทางให้บุคลากรท้องถิ่นโอนย้ายไปปฏิบัติงานในหน่วยงานท้องถิ่นโดยรักษา
                     ตำแหน่งเท่าเดิม























                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   XV
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21