Page 12 - 21211_fulltext
P. 12

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                           กิจกรรมการวิจัย สรุปหัวข้อสำคัญ

                            ๏ การวิเคราะห์สถานการณ์ตามความเป็นจริง (situational analysis)
                               โดยประมวลข้อมูลสนเทศของ เทศบาล และ อบต. จำนวน 7,775 แห่ง
                               เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ส่วนราชการจัดเก็บ นำมาเป็นฐานข้อมูลเพื่อการ

                               วิเคราะห์และทดสอบข้อสันนิษฐาน เนื้อหาของข้อมูลสนเทศครอบคลุม
                               ก) สถิติพื้นฐานของ อปท. เช่น จำนวนประชากร ขนาดพื้นที่ ความหนา
                               แน่นประชากร และสภาพทางภูมิศาสตร์ ข) สถิติรายได้และรายจ่ายของ

                               เทศบาล และ อบต. รายจ่ายจำแนกออกเป็น รายจ่ายบุคลากร รายจ่าย
                               การลงทุน และรายจ่ายการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อนำมาคำนวณต้นทุน
                               ค) สถิติบุคลากร หมายถึง จำนวนข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว

                               จำแนกตามตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนค่าบริหารจัดการท้องถิ่นที่
                               สำคัญมาก

                            ๏ การทดสอบข้อสันนิษฐานการประหยัดจากขนาด โดยระบุแบบจำลอง

                               อันประกอบด้วย 3 สมการ กล่าวคือ สมการแรก จำนวนบุคลากรต่อ
                               ประชากรพันคน (staffpop1000) สมการที่สอง รายจ่ายบุคลากรต่อ
                               ประชากร (capxstaff) และสมการที่สาม รายจ่ายการจัดบริการต่อ
                               ประชากร (capxser) ทั้งสามสมการสะท้อนต้นทุนต่อหน่วย (unit cost)

                               นำมาประมาณการความสัมพันธ์กับชุดของตัวแปรอิสระ โดยใช้เทคนิค
                               robust regression โดยสันนิษฐานว่า dy/dx < 0 ในช่วงแรก (หมายเหตุ

                               dy หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม และ dx หมายถึง การ
                               เปลี่ยนแปลงของตัวแปรอิสระ) จุดที่ต้นทุนต่ำสุดเกิดขึ้น ณ จุดที่ dy/dx = 0
                               เมื่อเกินกว่าช่วงนี้ dy/dx > 0 หมายถึง ต้นทุนต่อหน่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                            ๏ การศึกษากฎระเบียบของท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนและ

                               กระบวนการควบรวม ซึ่งมีระเบียบของกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2547)
                               และตัวอย่างการควบรวมในอดีต อีกแนวความคิดหนึ่ง คือ เศรษฐศาสตร์
                               สถาบันซึ่งนำมาเป็นกรอบ โดยตระหนักว่า กฎ ระเบียบ แรงจูงใจและ

                               ต้นทุนค่าโสหุ้ย มีความสำคัญต่อการตัดสินใจหรือต่อพฤติกรรมของ
                               หน่วยวิเคราะห์ อีกนัยหนึ่งพยายามทำความเข้าใจ “ตัวละคร” หรือ




                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   XI
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17