Page 10 - 21211_fulltext
P. 10
บทสรุป สำหรับผู้บริหาร
โครงการวิจัย “การประหยัดจากขนาดและศักยภาพการควบรวมท้องถิ่น
ขนาดเล็ก” กำหนดวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประการแรก ศึกษาการประหยัด
จากขนาดในเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยอิงหลักฐานเชิงประจ้กษ์
หน่วยวิเคราะห์ในที่นี้หมายถึง เทศบาล และ อบต. จำนวน 7,775 แห่ง คณะวิจัย
ได้ประมวลข้อมูลจากหลายแหล่งเพื่อนำทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนต่อหน่วย
กับขนาดประชากรของเทศบาล หรือ อบต. โดยกำหนดข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ H1:
ในเทศบาล และ อบต. ที่มีขนาดเล็ก การจัดสรรทรัพยากรอาจจะไม่คุ้มค่า ต้นทุนต่อ
หน่วยสูง H2: เมื่อขนาดดำเนินการของ เทศบาล และ อบต. เพิ่มขึ้น ต้นทุนต่อหน่วย
มีแนวโน้มลดลงจนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด ต่อจากนั้นต้นทุนต่อหน่วย
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น H3: มีความเป็นไปได้ในการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็กโดยใช้แนวทาง
สมัครใจ (volunteer approach) ทั้งนี้หากมีแรงจูงใจเป็นเงินอุดหนุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย
เตรียมการและดำเนินการควบรวม อาจจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้อง
กับข้อเสนอการควบรวมองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
(สปท.) เป็นองค์กรหลักที่ริเริ่มนโยบายการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็กเข้าด้วยกัน
เพื่อเป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาด
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอการควบรวมท้องถิ่นอาจจะไม่เกิดขึ้นจริง ถึงแม้ว่าเป็นผลดีต่อ
สังคมส่วนรวม แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อส่วนบุคคล กล่าวคือ ต้นทุนทางการเมืองของ
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากที่นั่งในสภาท้องถิ่นลดลง การสูญเสียอัตราตำแหน่ง
ข้าราชการประจำ และประชาชนในฐานะผู้รับบริการไม่มั่นใจว่า เมื่อมีการควบรวมแล้ว
จะเกิดผลดีต่อประชาชนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเพิ่มค่าโสหุ้ย
การมารับบริการที่เพิ่มขึ้นได้
สถาบันพระปกเกล้า IX