Page 14 - 21211_fulltext
P. 14

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                                         และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                            ๏ จากประสบการณ์ของการควบรวมท้องถิ่นในต่างประเทศ พบว่ามี
                               2 แนวทาง คือ ควบรวมภาคบังคับ และควบรวมโดยสมัครใจ คณะวิจัย
                               ลงความเห็นว่า ในบริบทของประเทศไทย มาตรการบังคับเป็นไปได้ยาก
                               สุ่มเสี่ยงที่จะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุถ้อยคำว่า “เป็นไปตาม

                               เจตนารมณ์ของประชาชน” อย่างไรก็ตาม การควบรวมโดยสมัครใจมีความ
                               เป็นไปได้และมีตัวอย่างในอดีต ในปีปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2561) ของ 3 อปท.

                               ในจังหวัดอุบลราชธานีแสดงความจำนงควบรวมเข้าด้วยกัน และได้เตรียมการ
                               ตามขั้นตอนรวม รวมถึงการให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์ในเดือนเมษายน
                               2561

                     ผลการศึกษา

                           ประการแรก การวัดต้นทุนการบริหารของท้องถิ่น ยืนยันว่า “ต้นทุนต่อหน่วย

                     มีแนวโน้มลดลง” (decreasing unit cost) ในช่วงแรก (ขนาดประชากรน้อยกว่า
                     10,000 คนโดยประมาณ) สะท้อนใน รายจ่ายบุคลากรต่อประชากร รายจ่ายการจัด
                     บริการต่อประชากร และจำนวนพนักงานต่อประชากรพันคน และเมื่อขนาดองค์กรใหญ่

                     (เกินกว่า 1 หมื่นคนโดยประมาณ) ต้นทุนต่อหัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                           ผลการค้นคว้านี้ไม่ควรจะอนุมานว่า 10,000 คนเป็นขนาดที่เหมาะสม (optimal
                     size) เนื่องจาก “optimality” มิใช่การพิจารณาจากด้าน “อุปทาน” เท่านั้น  แต่ควร

                     จะพิจารณาปัจจัยด้านอุปสงค์ด้วย กล่าวคือ คำนึงถึงต้นทุนค่าโสหุ้ยของประชาชน
                     การยอมรับของประชาชน ระยะการเดินทางจากบ้านถึงสำนักงานเทศบาลไม่ห่างไกล
                     จนเกินไป ฯลฯ

                           ประการที่สอง พบหลักฐานเชิงประจักษ์ “การไม่ประหยัดจากขนาด” ใน

                     เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็กมาก (เช่น อปท. ที่มีจำนวนประชากรต่ำกว่า 2,000 คน)
                     โดยวิเคราะห์จากโครงสร้างบุคลากรท้องถิ่น (local personnel employment)
                     เทศบาล และ อบต. จำเป็นต้องจ้างบุคลากรขั้นต่ำ – แม้ว่าประชากรจะน้อยมาก หมายถึง

                     โครงสร้างบุคลากรทำให้เกิด “ต้นทุนคงที่” (fixed cost) ดังนั้น หากมาตรการควบรวม
                     ประสบผลสำเร็จ มีประชากรเพิ่มขึ้น แต่จำนวนข้าราชการและพนักงานไม่เปลี่ยนแปลง
                     หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก ซึ่งเป็นที่มาของ “การประหยัดจากขนาด” การวิเคราะห์ในบทที่ 4

                     ช่วยให้เห็นภาพของการไม่ประหยัดจากขนาดในท้องถิ่นขนาดเล็กได้อย่างชัดเจน



                                                                          สถาบันพระปกเกล้า   XIII
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19