Page 29 - kpi21193
P. 29
1) นายกฯ ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ด้วยตนเองบ่อยครั้ง
และมีช่องทางให้ประชาชนติดต่อสื่อสารกับนายกฯ ได้โดยตรงเพื่อนายกฯ จะได้รับรู้และเข้าใจ
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ปัญหาของชุมชนท้องถิ่น อาทิ โทรศัพท์สายด่วน ไลน์ เฟซบุ๊ก และการประชุม/ประชาคม เป็นต้น
2) นายกฯ มีช่องทางในการรับฟังปัญหา ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจาก
ผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อรับรู้ปัญหาภายในองค์กร อาทิ การประชุมระดับผู้บริหาร การประชุมระดับ
พนักงาน โทรศัพท์ ไลน์ การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในโอกาสต่าง ๆ และการเปิดโอกาส
ให้เข้าพบนายกฯ เป็นต้น
3) ผู้บริหารระดับกลางและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้วิธีการพูดคุยกันและ
ขอความช่วยเหลือซึ่งกันและกันหากเกิดปัญหาในการทำงาน
4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการปรึกษาหารือกับหน่วยงานอื่นหากมี
ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้เพียงลำพัง
ประการที่สอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการเรียนรู้แนวทางการแก้ไข
ปัญหาจากภายนอกองค์กร โดยมีแนวทาง ดังนี้
1) การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยตรง
2) การศึกษาประสบการณ์หรือบทเรียนของหน่วยงานอื่นทั้งในและ
ต่างประเทศเพื่อเป็นตัวอย่างและนำมาประยุกต์ใช้
3) การนำความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาโดยภาพรวม ต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยแนวทางต่าง ๆ ดังนี้
ประการที่สาม นายกฯ ส่งเสริมศักยภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เอื้อ
1) การเปิดโอกาสให้นำเสนอโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรม
โดยนายกฯ มอบเป็นนโยบายให้แต่ละส่วนงานนำเสนอนวัตกรรมของส่วนงานตนในแต่ละปี หรือ
มีแรงจูงใจเพิ่มเติม (ขั้นเงินเดือน โบนัส ใบเกียรติคุณ รางวัล ฯลฯ) ให้แก่ผู้ที่คิดค้นและมีส่วน
ขับเคลื่อนนวัตกรรมให้สำเร็จ
2) การสนับสนุนให้บุคลากรพัฒนาความรู้และทักษะจนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้านโดยให้เข้ารับการฝึกอบรม การประชุม การสัมมนา การประชุม / สัมมนาเชิงปฏิบัติ
การ หรือการมอบหมายงานพิเศษ
3) การให้บุคลากรใช้ดุลพินิจของตนในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่าง
เหมาะสมโดยไม่ชี้นำหรือสั่งการ
20 สถาบันพระปกเกล้า