Page 141 - kpi21193
P. 141
1.3 วิถีแห่งการเติบโตขององค์กร
“สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
วิธีการปฏิบัติที่สร้างความเติบโตขององค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จ
ของเทศบาลเมืองแม่เหียะในการขับเคลื่อนนวัตกรรม “สำนักงานอัจฉริยะ” มี 2 ประการ ได้แก่
ประการแรก นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากภายนอก
มาแบ่งปันให้แก่บุคลากรของเทศบาลเสมอ โดยส่วนใหญ่นายกฯ มักสรุปหรือเล่าในที่ประชุม
ระดับผู้บริหารและระดับพนักงาน รวมถึงนำหนังสือและเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์มาแบ่งปัน
ด้วย และประการที่สอง การมอบหมายให้บุคลากรที่มีความสามารถไปปฏิบัติงานในชุมชน
เพื่อให้มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการนำนโยบายและโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติ สำหรับ
การพัฒนาข้อมูลในระบบ LTAX 3000 บุคลากรของเทศบาลผู้ที่รู้จักพื้นที่ในแต่ละจุดเป็นอย่างดี
ได้รับมอบหมายให้ไปลงพื้นที่บริเวณนั้นเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูล ซึ่งช่วยให้เก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น
และครบถ้วน เพราะได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่คุ้นเคยกัน กล่าวได้ว่า เทศบาลเมืองแม่เหียะ
เสริมสร้างความรู้ความสามารถให้แก่บุคลากร ซึ่งจะส่งผลให้เทศบาลมีความเติบโตอย่างยั่งยืน
2. วัฒนธรรมองค์กร
วัฒนธรรมองค์กร สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวกับ
กระบวนการทำงาน (Functionalization) และกลุ่มวัฒนธรรมองค์กรที่เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์
ในการปฏิบัติงาน (Communalization) ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยวัฒนธรรม 3 ด้าน ดังนี้
ตารางที่ 4 คะแนนวัฒนธรรมองค์กรกลุ่มที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงาน
กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ค่าเฉลี่ย
ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญพิเศษ (Specialty) 3.32
วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับพิธีการและมาตรฐาน (Formality)
3.33
วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับลำดับชั้นและการควบคุม (Hierarchy)
2.43
ค่าเฉลี่ยรวม
3.03
ตารางที่ 5 คะแนนวัฒนธรรมองค์กรกลุ่มที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน
กลุ่มวัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ค่าเฉลี่ย
วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของ (Ownership) 3.54
วัฒนธรรมการรักษาความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Cohesion) 2.16
วัฒนธรรมองค์กรที่มีอิสระและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น (Autonomy) 1.87
ค่าเฉลี่ยรวม 2.52
1 2 สถาบันพระปกเกล้า