Page 146 - kpi21193
P. 146

ความเร่งด่วนของปัญหาได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาท้องถิ่นในรูปของโครงการพัฒนาต่าง ๆ
                      ซึ่งผ่านการประชุมประชาคมร่วมกับชุนชน และการใช้งบประมาณของเทศบาลเพื่อจัดการกับ

                      ความเร่งด่วนของปัญหาก็เป็นไปตามกรอบของแผนพัฒนาท้องถิ่น นอกจากนี้ ในกรณีที่จำเป็น
                      นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะทำการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรบุคคลของเทศบาล
                      โดยโอนงบประมาณหรือทรัพยากรของกองงานที่มีเพียงพอไปเสริมให้กองงานที่ไม่เพียงพอ

                      เพื่อช่วยให้การดำเนินงานของเทศบาลประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมาย

                              2) ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญ


                                ความสามารถในการทำความเข้าใจสาระสำคัญของนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ             “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      แสดงให้เห็นจากคุณลักษณะเด่น 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การค้นหาสาเหตุของปัญหา

                      ในการทำงานอย่างจริงจัง หากเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการทำงานของเทศบาล
                      นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะมักให้ผู้ใต้บังคับบัญชาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาหรือ

                      ความผิดพลาดนั้นอย่างจริงจัง เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น
                      ประการที่สอง การนำข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียนในการทำงาน นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ
                      เห็นว่า การนำข้อผิดพลาดมาเป็นบทเรียนหรือข้อเสนอแนะในการทำงานครั้งต่อไป ย่อมจะช่วย

                      ป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดพลาดนั้นซ้ำอีก นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะจึงมี
                      นโยบายให้บุคลากรของเทศบาลพยายามเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในการทำงานทุกครั้ง และ

                      3) การแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์จากภาคส่วนอื่นเพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน กลยุทธ์
                      สำคัญในการเรียนรู้จากภาคส่วนอื่น ๆ ของนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ คือ การทำงานกับ
                      ภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมในลักษณะเครือข่าย เพราะได้พูดคุย

                      แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เทศบาลเมืองแม่เหียะจึงประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ
                      มาโดยตลอดกระทั่งในปัจจุบันเทศบาลมีเครือข่ายในการทำงานจำนวนมาก

                              3) ความสามารถในการสร้างพื้นที่และความร่วมมือที่เอื้อให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยน      ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา

                      เรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่

                                นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะได้สร้างช่องทางหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมให้บุคลากร

                      ในเทศบาลได้สื่อสาร พูดคุย หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและ
                      ไม่เป็นทางการ ได้แก่ การจัดประชุมระดับผู้บริหารเป็นประจำทุกสัปดาห์ การจัดประชุมระดับ

                      พนักงานทุกเดือน การจัดแข่งขันกีฬา และบ่อยครั้งในช่วงรับประทานอาหารกลางวันหรืออาหาร
                      เย็นก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ทั้งนี้ การได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันบ่อยครั้ง
                      มักทำให้เกิดความร่วมมือกันในการค้นหาแนวทางหรือวิธีการใหม่ ๆ ในการทำงาน และที่สำคัญ






                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151