Page 137 - kpi21193
P. 137

บ้านของนักเรียนนอกระบบ และแหล่งเรียนรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยกองการศึกษานำข้อมูล
                  มาใช้ในการเฝ้าระวังควบคุมโรคในสถานศึกษา ดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดทำแผนที่แหล่งเรียนรู้
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมบริเวณโดยรอบที่อยู่อาศัยและสถานศึกษาของเด็กเพื่อป้องกัน
                  การเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์


                              กองวิชาการ มีข้อมูลจุดที่ตั้งโครงการตามแผนพัฒนาท้องถิ่น ตำแหน่ง
                  เสียงตามสาย และตำแหน่งการท่องเที่ยวเพื่อการจัดหารายได้


                  สมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งของเทศบาลเมืองแม่เหียะ

                        ตามกรอบแนวคิดการศึกษาสมรรถนะองค์กร (Organizational Capacity) สมรรถนะ

                  องค์กรมีองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 1) วิธีปฏิบัติขององค์กร (Organizational Practices)
                  มีตัวชี้วัด 65 ข้อ 2) วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) มีตัวชี้วัด 36 ข้อ และ

                  3) ภาวะผู้นำ (Leadership Capacity) มีตัวชี้วัด 30 ข้อ รวมตัวชี้วัดทั้งหมด 131 ข้อ

                        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้เก็บแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน
                  48 ตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรของเทศบาลเมืองแม่เหียะ และ

                  2) ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ ทั้งนี้ ได้มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง
                  โดยผู้วิจัยมีเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่างกลุ่มบุคลากรของเทศบาลเมืองแม่เหียะ 3 ประการ คือ

                  1) กระจายตัวให้ครอบคลุมทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ 2) กระจายตัวให้ครอบคลุม
                  ทุกส่วนงาน และ 3) เป็นผู้ที่ทำงานในเทศบาลเมืองแม่เหียะมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี และสำหรับ
                  กลุ่มประชาชน ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้ที่เคยมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการกับเทศบาลเมืองแม่เหียะ

                  อย่างใกล้ชิด ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยนี้ประกอบด้วย นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา   ๏  นายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ จำนวน 1 ตัวอย่าง
                  ผู้บริหารระดับกลาง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ และประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้  ดังนี้



                        ๏  รองปลัดเทศบาลเมืองแม่เหียะ จำนวน 1 ตัวอย่าง
                        ๏  ผู้อำนวยการกอง จำนวน 3 ตัวอย่าง

                        ๏  เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ จำนวน 5 ตัวอย่าง
                        ๏  ประชาชน จำนวน 38 ตัวอย่าง


                        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำให้ทราบถึงสมรรถนะองค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จ
                  ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม “สำนักงานอัจฉริยะ” ดังนี้









                12    สถาบันพระปกเกล้า
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142