Page 135 - kpi21193
P. 135

เทศบาลเมืองแม่เหียะนำโปรแกรม LTAX 3000 มาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้เป็นฐาน
                  ข้อมูลในการพัฒนาท้องถิ่น โดยพัฒนาโปรแกรมให้สามารถบันทึกและจัดเก็บข้อมูลของทุกส่วน
            “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                  งาน ทำให้ปัจจุบันเทศบาลเมืองแม่เหียะมีฐานข้อมูลในโปรแกรมนี้ รวมทั้งหมด 9 ด้าน ได้แก่
                  ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ด้านการผังเมือง ด้านโครงสร้างพื้นฐานและ
                  การสาธารณูปโภค ด้านการสาธารณสุข ด้านการจัดสวัสดิการชุมชน ด้านการสังคมสงเคราะห์

                  ด้านการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน และด้านสังคมอื่น ๆ
                  เทศบาลเริ่มขยายผลโดยจัดเก็บและบันทึกข้อมูลการบริการของกองช่าง ข้อมูลเกี่ยวกับ

                  ใบอนุญาต และการบริการของกองสาธารณสุข ลงในโปรแกรมก่อนจึงดำเนินการจัดเก็บและ
                  บันทึกข้อมูลของส่วนงานอื่น ๆ ต่อไป เทศบาลได้ฝึกบุคลากรและแกนนำในพื้นที่ (อสม. อพปร.
                  กรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน) ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านต่าง ๆ และบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม

                  โดยมีขั้นตอนในการฝึกอบรม 11 ขั้นตอน เป็นระยะเวลารวม 28 วัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                                 ขั้นตอนที่ 1  การประชุมเพื่อทำความเข้าใจและสร้างความร่วมมือ ตลอดจน

                                            แต่งตั้งคณะทำงาน
                                 ขั้นตอนที่ 2  การบันทึกข้อมูลเจ้าของที่ดินและรายละเอียดทรัพย์สิน

                                 ขั้นตอนที่ 3  จัดทำทะเบียนทรัพย์สินโดยการเขียนด้วยมือตามหลักการของ
                                            ระบบเอกสาร
                                 ขั้นตอนที่ 4  จัดทำแผนที่รูปแปลงที่ดิน และประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเรื่อง

                                            การถ่ายภาพเจ้าบ้าน
                                 ขั้นตอนที่ 5  การสำรวจภาคสนาม

                                 ขั้นตอนที่ 6  การสำรวจแปลงที่ดินที่หาไม่พบ
            ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา        ขั้นตอนที่ 8  การบันทึกทะเบียนทรัพย์สินรายแปลงลงในโปรแกรม LTAX 3000
                                 ขั้นตอนที่ 7  การตรวจสอบเขตตำบลตามแผนที่ และการแบ่งโซน (Zone)


                                 ขั้นตอนที่ 9  การสำรวจและบันทึกที่ตั้งและรหัสโรงเรือน แผนที่อาคาร ลงภาษี
                                            โรงเรือน

                                ขั้นตอนที่ 10  การฝึกการใช้งานระบบและการประยุกต์ใช้ของแต่ละกอง ได้แก่

                                            การแก้ไข การรับชำระเงิน ระบบและการออกใบเสร็จ
                                ขั้นตอนที่ 11 การฝึกใช้แผนที่ที่พิมพ์ออกมาในการกำหนดค่าพิกัดโครงการ


                              ปัจจุบันเทศบาลเมืองแม่เหียะมีฐานข้อมูลในโปรแกรมนี้ รวมทั้งหมด 9 ด้านดัง
                  กล่าวข้างต้น และมีจำนวนชั้นข้อมูลมากถึง 70 ชั้นข้อมูล ซึ่งแต่ละกองสามารถนำไปใช้ประยุกต์

                  ใช้ได้ ดังนี้





                12    สถาบันพระปกเกล้า
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140