Page 140 - kpi21193
P. 140

1.2  วิถีแห่งการดำเนินงาน

                                  วิธีปฏิบัติขององค์กรที่เป็นจุดแข็งหรือปัจจัยความสำเร็จของเทศบาลเมืองแม่เหียะ

                      ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม “สำนักงานอัจฉริยะ” มี 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การบริหาร
                      จัดการองค์กร กองต่าง ๆ  ภายในเทศบาลมีอิสระในการปรับแผนงานให้สอดคล้องเหมาะสมกับ

                      บริบทของพื้นที่ รวมทั้งสามารถริเริ่มกิจกรรมหรือโครงการใหม่ ๆ ได้ ความมีอิสระของกองงาน
                      ต่าง ๆ ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่าง
                      รวดเร็ว ส่งผลให้การทำงานของเทศบาลมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และเหมาะสมกับบริบท

                      พื้นที่ที่เป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท แหล่งท่องเที่ยว แหล่งการค้าการลงทุน และที่อยู่อาศัย ดังเช่น  “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
                      ได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนจนกระทั่งกลายเป็น

                      สำนักงานอัจฉริยะที่สามารถให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์ ประชาชนได้รับบริการ
                      ที่สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่า ประการที่สอง การประสานงานภายในเทศบาล บุคลากรภายใน
                      เทศบาลมีการทำงานกันเป็นทีมโดยไม่แบ่งแยกภารกิจและความรับผิดชอบส่วนบุคคล แม้จะมี

                      การแบ่งโครงสร้างองค์กรออกเป็นกองต่าง ๆ แต่หากกองใดต้องการความช่วยเหลือหรือกำลังคน
                      ภายในเทศบาลย่อมมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้การดำเนินงานของเทศบาลบรรลุ

                      เป้าหมาย การพัฒนาและขับเคลื่อนนวัตกรรม “สำนักงานอัจฉริยะ” ก็ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบ
                      ของกองใดกองหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของคณะทำงานอย่างไม่เป็นทางการที่มาจาก
                      หลากหลายกองงาน นอกจากนี้ การตัดสินใจที่สำคัญของเทศบาลมักมาจากมติร่วมกันของกอง

                      ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะส่งให้นายกฯ พิจารณา โดยกองต่าง ๆ จะมีการพูดคุยหรือประชุมกันนอกรอบ
                      เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะประชุมอย่างเป็นทางการอีกครั้งเพื่อรับรองข้อตกลงนั้น และ

                      ประการที่สาม การควบคุมการดำเนินงาน การควบคุมการดำเนินงานรายบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่
                      มีการกำหนดลักษณะงาน (job description) ของแต่ละตำแหน่งงานไว้อย่างชัดเจน มีการส่งเสริม
                      ให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว

                      จากการปฏิบัติหน้าที่ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลเพื่อสนับสนุนให้เกิดการ        ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
                      ปฏิบัติงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และมีการจูงใจบุคลากรผู้ที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุ

                      เป้าหมาย อาทิ การเพิ่มขั้นเงินเดือน การให้โบนัส และการมอบเกียรติบัตร เป็นต้น นอกจากนี้
                      ยังมีการการควบคุมการดำเนินงานขององค์กรโดยมีการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งแผนต้องระบุ
                      ให้เห็นลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนา และมีการการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร

                      บุคคลตามลำดับความสำคัญนั้น











                                                                                      สถาบันพระปกเกล้า   1 1
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145