Page 93 - kpi21190
P. 93

93



                       (4) โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ในครั้งโบราณมี 3 อาชีพคือ เกษตรกรรม พาณิชยกรรม

                           และรับราชการ การเป็นเจ้าขุนมูลนายหรือข้าราชการคงมีฐานะทางเศรษฐกิจ
                           สูงกว่าอาชีพอื่น ดังคำพูดที่ว่า “10 พ่อค้าไม่เท่า 1 พระยาเลี้ยง” ต่อมาภาคธุรกิจ
                           ได้เติบโตขึ้น ในระบบทุนนิยมที่มีองค์กรทุนขนาดใหญ่ เป็นสถาบันชนิดใหม่
                           ในสังคมที่มีอำนาจมาก อำนาจบางอย่างก็มากกว่ารัฐและข้ามรัฐ นักธุรกิจที่ร่ำรวย

                           ยังมีศักดิ์ศรีหรือสถานภาพทางสังคมสูงขึ้นด้วย ดังที่แต่ก่อน “เจ๊ก” ดูเหมือนเป็น
                           วรรณะที่ต่ำต้อย แต่ต่อมา “เจ๊กที่ร่ำรวย” สามารถไปแต่งงานกับเจ้าได้ ทุนขนาดใหญ่
                           ยังมีอิทธิพลต่อระบบราชการและระบบการเมือง มีผลทางลบต่อธรรมาภิบาลของ
                           ระบบราชการและคุณภาพของประชาธิปไตย


                             นอกจากนั้นธรรมชาติของทุนจะมีรายได้ (Capital income) หรือผลกำไรสูงกว่า
                           รายได้จากการทำงาน เป็นปัจจัยให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นอย่างสุด ๆ ถ้าไม่มี
                           มาตรการควบคุม เรื่องการถือครองทรัพย์สินที่ไม่เป็นธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของ
                           โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมเป็น

                           ปัจจัยที่ใหญ่มากแห่งความเหลื่อมล้ำ และเป็นที่ท้าทายอำนาจรัฐอย่างยิ่ง ว่าอำนาจ
                           รัฐจะสามารถทำให้เกิดโครงสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรมได้หรือไม่ หรือตกอยู่ใน
                           อำนาจทุนขนาดใหญ่ เป็นเครื่องมือให้ความไม่เป็นธรรมกว้างขวางใหญ่โตขยายตัว
                           และเหนียวแน่น


                       (5) โครงสร้างอำนาจรัฐ อำนาจรัฐนั้น กว้างขวางใหญ่โต และครอบคลุม ทุกตารางนิ้ว
                           ของแผ่นดิน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อความเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมในสังคม เพราะ
                           เป็นอำนาจที่

                             ๏ บังคับใช้กฎหมาย
                             ๏ จัดสรรทรัพยากร
                             ๏ ตัดสินใจทางนโยบาย

                             แต่โบราณอำนาจรัฐที่ไหน ๆ ก็เป็นอำนาจที่บังคับราษฎร เพื่อเกณฑ์แรงงาน

                           เก็บภาษี และเกณฑ์คนไปรบ เมื่อใดที่ใช้อำนาจเกินเลยราษฎรก็เดือดร้อน
                           ระส่ำระสาย หรือถึงเป็นกบฏ แต่ถ้าใช้อำนาจอย่างเป็นธรรม ราษฎรก็มีความสุข
                           การดิ้นรนไปสู่ประชาธิปไตยก็คงเป็นเพราะความรู้สึกว่าการปกครองแบบรวม
                           ศูนย์อำนาจไม่เป็นธรรม                                                          Keynote Speaker


                             โครงสร้างอำนาจรัฐไทยเป็นอำนาจรวมศูนย์มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สัมพันธภาพ
                           ระหว่างเจ้าขุนมูลนายกับราษฎรที่เป็นบ่าวไพร่ เป็นความเหลื่อมล้ำซึ่งเกือบจะเรียก
                           ได้ว่าเป็นเชิงวรรณะ ในสมัย ร.5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการจัดระบบการปกครอง
                           ที่รวมศูนย์อำนาจอย่างเข้มข้น เพื่อป้องกันมหาอำนาจยุโรปมาเลาะเล็มกินเขตแดน

                           ประเทศไทย กับเพื่อการพัฒนาสมัยใหม่อย่างรวดเร็ว
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98