Page 90 - kpi21190
P. 90
90
ประเทศจีน หลายครั้งหลายครา การปฏิวัติต่าง ๆ ในยุโรป อเมริกาใต้ และที่อื่น ๆ ที่ชูธง
เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ประชาธิปไตย หรืออะไรอื่น ที่เป็นความดีงาม แต่เราก็มาสู่
วิกฤตความเหลื่อมล้ำในปัจจุบัน
ความล้มเหลวของการใช้พละกำลัง ทำลายโครงสร้างแห่งความไม่เป็นธรรม น่าจะเป็น
บทเรียนให้เราหันมาใช้วิถีทางปัญญา พยายามใช้ปัญญา หรือความเป็นเหตุเป็นผล ทำความ
เข้าใจโครงสร้างที่ซับซ้อน และวิธีการที่จะก่อให้เกิดการปรับรูป (Transform) หรือสัมพันธภาพ
ใหม่ที่นำไปสู่การลงตัว
ที่จริงปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้ที่ดูปั่นป่วนวุ่นวายในประเทศไทยนั้น เป็นอาการ
ของการดิ้นรนที่จะหาความลงตัวในสังคมไทย ที่ดำเนินมาประมาณ 1 ศตวรรษแล้ว ทุกฝ่าย
ควรจะช่วยกันหาความลงตัวของสังคมไทยให้ได้
ความลงตัวน่าจะเป็นสังคมที่มีความเป็นธรรม ไม่มีความเหลื่อมล้ำมากเกิน
ถ้ามีความเป็นธรรม ผู้คนจะรักกัน และรักส่วนรวม ถ้าไม่เป็นธรรมก็จะปั่นป่วน
วุ่นวาย รุนแรง วิกฤต
การจะเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน ต้องใช้ปัญญาอย่างลึก และรอบด้านให้รู้เห็น
ตามความเป็นจริง อารมณ์โกรธเกลียดจะเข้ามากำหนดการรู้เห็น ทำให้ไม่รู้เห็นตามความเป็น
จริง ไม่เอื้ออำนวยต่อการคลี่คลายโครงสร้างที่กักขังเราไว้ในความไม่เป็นธรรม
อุปสรรคใหญ่อย่างหนึ่งคือ วิธีคิดในสังคมไทย ที่คิดว่าดีชั่วเป็นเรื่องกรรมส่วนบุคคล
ขาดความคิดเชิงระบบและโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมของบุคคลและองค์กร
อย่างสำคัญ เมื่อขาดความคิดเชิงระบบและโครงสร้างก็ไม่เห็นปัญหาและการแก้ไขเชิงระบบ
และโครงสร้าง ทำให้ออกจากโครงสร้างอันไม่เป็นธรรมไม่ได้ การคิดเชิงกรรมส่วนบุคคลทำให้
คิดรังเกียจคนจน ว่าเป็นคนไม่ดี ทำให้ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำเข้าไปอีก
ฉะนั้น เมื่อพูดถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง จะต้องรวมโครงสร้างทางวิธีคิด และโครงสร้างทาง
จิตสำนึกด้วย
Keynote Speaker 2. ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง
กล่าวถึงโครงสร้าง 5 ประการ
โครงสร้างที่ถักทอกันอย่างแข็งแรง และกักขังสังคมไว้ในความไม่เป็นธรรมมีหลายมิติ
และซับซ้อนมาก เพื่อพอให้เริ่มต้นได้และเข้าใจง่ายพอ จะกล่าวถึงโครงสร้างเพียง 5 อย่าง
ซึ่งจากโครงสร้าง 5 นี้ ผู้อ่านสามารถต่อเติมโครงสร้างอื่นๆ เพิ่มเติมได้