Page 98 - kpi21190
P. 98

98



               6. การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through

               action) ในสถานการณ์จริง : เครื่องมือปรับโครงสร้างอำนาจให้สมดุล


                     ในประวัติศาสตร์มีความพยายามเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจด้วยความรุนแรง แต่ไม่สำเร็จ

               เพราะถูกอำนาจเก่าทำลาย หรืออำนาจใหม่ต้องมาแบกรับภาระที่ยากลำบากในการสร้าง
               ความลงตัวของบ้านเมือง คำพูดของ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ซึ่งเคยเข้าไปร่วมกับ
               พรรคคอมมูนิสต์ในป่าจับปืนขึ้นสู้อำนาจรัฐสะท้อนประเด็นนี้ได้ดี อาจารย์เสกสรรค์กล่าวว่า
               “พวกผมก็คิดยึดอำนาจรัฐ แต่โชคดีที่ไม่สำเร็จ” คือถ้ายึดได้สำเร็จจะต้องไปแบกรับภาระ
               ในการบริหารรัฐ ซึ่งยากลำบากและไม่สำเร็จ การต่อสู้ให้ได้อำนาจกับการบริหารอำนาจ

               ที่ได้ไม่เหมือนกัน อย่างที่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขณะเป็นผบ.ทบ. พูดกับเพื่อนร่วมรุ่น
               โรงเรียนเตรียมว่า “การยึดอำนาจนี้ไม่ยาก แต่หลังจากยึดนี่ยากฉิบหาย อั๊วไม่มีวันทำ”

                     การปรับโครงสร้างอำนาจให้สมดุลตามที่เสนอมาเป็นลำดับ ไม่ใช่ทำโดยต่อสู้เพื่อทำลาย
               อำนาจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ทำโดยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive Learning

               through action) ในสถานการณ์จริง การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติเป็นกระบวนการที่ทรง
               พลังในการฝ่าความยากไปสู่ความสำเร็จ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง (Transform)
               ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ยิ่งทำก็ยิ่งรักกันมากขึ้น เชื่อถือไว้วางใจกันมากขึ้น เห็นแก่ตัวน้อยลง ๆ

               เกิดปัญญามากขึ้น ๆ เกิดปัญญาร่วม (Collective wisdom) นวัตกรรมอัจฉริยะภาพกลุ่ม
               (Group genius) ทั้งหมดนี้คืออำนาจทางปัญญา หรือปัญญานุภาพ ที่เป็นตัวสมานอำนาจทั้ง 3
               คืออำนาจรัฐ อำนาจทุน อำนาจสังคม ให้เป็นสังคมสมาภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

                     กระบวนการนี้ ยังให้เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพานแก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง


                     การปรับโครงสร้างอำนาจด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ ไม่ทำให้ฝ่ายใด
               สูญเสียอะไรเลย ตรงข้ามกับสร้างสรรค์ศักดิ์ศรีและความดีงามต่าง ๆ ไปสู่ความสร้างสรรค์
               ที่ลงตัว

               7. บทบาทใหม่ของอำนาจรัฐ


         Keynote Speaker   ต้น ก็คือทำเรื่องใหญ่ ๆ ที่เกินความสามารถของชุมชนท้องถิ่นและภาคอื่น ๆ จะทำได้ เช่น
                     บทบาทใหม่ของอำนาจรัฐ นอกเหนือไปจากส่งเสริมสนับสนุนสังคมเข้มแข็งดังกล่าวข้าง




                      ๏ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                      ๏ การจัดสรรทรัพยากรไปช่วยส่วนของสังคมที่เสียสมดุล
                      ๏ พัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ
                      ๏ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างสันติภาพ
                      ๏ สร้างระบบการป้องกันประเทศที่เหมาะสม

                       เป็นต้น
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103