Page 97 - kpi21190
P. 97

97



                  5. สังคมเข้มแข็ง โดยมีอำนาจรัฐและอำนาจทุนสนับสนุน หนทางสู่

                  การคงตัวของสังคมไทย


                       สังคมไทยพยายามดิ้นรนต่อสู้มาเป็นเวลา 1 ศตวรรษ เพื่อหาทางลงตัว ความวุ่นวาย
                  เอะอะ ขัดแย้งบางครั้งก็รุนแรง คืออาการของความดิ้นรนหาทางลงตัวแต่ยังไม่สำเร็จ ที่ไม่
                  สำเร็จเพราะการคิดเชิงปฏิปักษ์และต่อสู้ จึงเป็นประดุจไก่ที่อยู่ใน “เข่ง” ที่ถึงจิกตีกันอย่างไร ๆ

                  ก็ออกจากเข่งไม่ได้

                       ตามเหตุผลที่นำเสนอมาเป็นลำดับ บ้านเมืองจะลงตัวได้ต่อเมื่อไม่มีความเหลื่อมล้ำ
                  ในโครงสร้างอำนาจ โดยต้องช่วยให้โครงสร้างอำนาจทางสังคมเติบโตหรือเข้มแข็งเสมอหรือ

                  ใกล้เคียงกับอำนาจรัฐ และอำนาจทุน เป็นสังคมที่อำนาจหรืออานุภาพเสมอกัน เรียกว่า สังคม
                  สมานุภาพ และที่ดีคือ อำนาจรัฐและอำนาจทุน สนับสนุนสังคมเข้มแข็ง เพราะถ้าสังคม
                  เข้มแข็ง และเกิดความสมดุล เป็นปัจจัยให้เกิดความมั่นคง รัฐและทุนก็ได้ประโยชน์ ในสภาวะ
                  เสียสมดุลทั้งรัฐและทุนก็เสียประโยชน์ จากความปั่นป่วน วุ่นวาย โกลาหล ขัดแย้ง และรุนแรง
                  รัฐนอกจากจะสนับสนุนสังคมเข้มแข็งเองแล้ว ควรจะมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคทุนเข้ามาสนับ

                  สนุน สังคมเข้มแข็งด้วยหลักการที่เรียกว่า “ธุรกิจเพื่อการพัฒนา” (Business for
                  Development)

                       สังคมจะเข้มแข็งต่อเมื่อสามารถรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ด้วยความเสมอภาคและภราดร
                  ภาพ ในประเด็นสาธารณะต่างๆ เป็นพลเมืองที่มีจิตสำนึก และเป็นพลเมืองที่กัมมันตะ

                  (active)

                       อปริหานิยธรรม หรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียว ที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเป็น
                  อันมาก คือธรรมะแห่งการรวมตัวร่วมคิดร่วมทำ ภาพโดยย่อของสังคมเข้มแข็งก็คือ ชุมชน

                  ท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล มีอิสระในการบริหารจัดการ
                  อย่างมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่างมีสมรรถนะ เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึงเป็นธรรม
                  มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ มีเครื่องมือเชิงสถาบัน เช่น สถาบันการเงินของชุมชน มีพลัง
                  พลเมืองที่มีจิตสำนึก ที่รวมตัวกันทำกิจสาธารณะประเด็นต่างๆ เต็มประเทศ สังคมสามารถขับ

                  เคลื่อนนโยบายสาธารณะที่ดี และสามารถดึงฝ่ายต่าง ๆ มาถักทอกันพัฒนาประเทศ ถ้าสังคม
                  เข้มแข็งอย่างนี้นี่คือสาระของประชาธิปไตย และไม่ใช่ประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบแต่เป็น
                  ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ                                                                  Keynote Speaker

                       สังคมเข้มแข็งจึงควรเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ที่ทุกภาคส่วนในประเทศเข้ามามีส่วนร่วม

                  ในการขับเคลื่อน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ และภาคการสื่อสาร ภาครัฐควรถือเป็น
                  นโยบายที่จะทำให้ทุกภาคส่วนในประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนสังคมเข้มแข็ง

                       ถ้าทำตามนี้โครงสร้างอำนาจจะสมดุลมากขึ้น ๆ ความเหลื่อมล้ำลดลง ๆ บนเส้นทางสู่

                  การสร้างสังคมที่เป็นธรรม
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102