Page 195 - kpi21190
P. 195

195



                           3.2 กำหนดกลไกทางรัฐสภาในการตรวจสอบและถ่วงดุลรัฐบาลเพื่อรับผิดชอบต่อ

                               ประชาชนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป
                               เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในสมัยประชุมสามัญได้เพียง
                               ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น (มาตรา 121)

                           3.3 ผู้นำฝ่ายค้านสามารถขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจเพื่อให้
                               พรรคเสียงข้างน้อยได้ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการบริหารงานและเป็นการลด

                               ความตึงเครียดทางการเมือง (มาตรา 155)

                           3.4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ
                               สภาผู้แทนราษฎร จะเข้าชื่อกันเพื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถาม
                               ข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีโดยไม่มีการลงมติก็ได้

                           3.5  สมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อ
                               ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจง

                               ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ (มาตรา
                               153)

                           3.6  ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลให้รัฐบาลบริหารงาน
                               เพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของประชาชนได้ดี สมาชิกสภาผู้แทน
                               ราษฎรสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับ

                               งานในหน้าที่โดยถามเป็นหนังสือหรือด้วยวาจา (มาตรา 150) ในทุกสมัยของ
                               การประชุมรัฐสภา

                           3.7  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภา มีเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดในการ
                               กล่าวถ้อยคำใดในการแถลงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นหรือการออกเสียง
                               ลงคะแนนในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือที่ประชุมวุฒิสภาหรือที่ประชุม
                               ร่วมกันของรัฐสภา

                       4.  การลดความขัดแย้งและส่งเสริมเสถียรภาพทางการเมือง


                           4.1  มุ่งส่งเสริมให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต่างทำหน้าที่ของตนได้ดี มีความ
                               เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน และสามารถหาทางออกต่อความขัดแย้งทางการเมืองได้
                               โดยสันติวิธี ไม่ต้องขัดแย้งกันจนนำไปสู่การยุบสภาหรือการลงมติไม่ไว้วางใจ
                               รัฐบาลหรือตัวนายกรัฐมนตรี

                           4.2  รัฐบาลสามารถขอความร่วมมือจากรัฐสภา เหมือนกับที่บัญญัติไว้ตั้งแต่

                               รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการ          การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                               แผ่นดิน คณะรัฐมนตรีขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก
                               รัฐสภาได้ โดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 165)
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200