Page 200 - kpi21190
P. 200
200
4.10 เสริมสร้างความเป็นพลเมือง: มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทาง
การเมือง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
การส่งเสริมให้ประชาชนเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและมีส่วนร่วมในการคัดเลือกผู้สมัคร
รับเลือกตั้ง การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยการเลือกกันเองของผู้สมัครประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถเข้าชื่อกันเสนอร่างพระราชบัญญ้ติในหมวดที่เกี่ยวกับสิทธิ
และเสรีภาพ หน้าที่ของรัฐ และให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนสามารถเข้าชื่อเสนอญัตติขอแก้ไข
รัฐธรรมนูญได้ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (มาตรา 256)
ในการเสริมสร้างสร้างความเป็นพลเมือง ควรมีแผนแม่บทและยุทธศาสตร์ 20 ปี
เสริมสร้างการเรียนรู้ทางการเมืองในทุกระดับและในประเด็นปัญหาสำคัญของประเทศของคน
ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ ทุกวัย ที่สะดวก ง่าย และเรียนได้เอง ทุกเวลา เพื่อสร้างวัฒนธรรมการเมือง
ธรรมาภิบาล (good governance political culture) หรือไม่ หรือให้วัฒนธรรมการเมืองไทย
เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของโลกและประเทศในแต่ละช่วงเวลา
5. ความส่งท้าย: ประชาธิปไตยเพื่อโชว์หรือเพื่อใช้
ข้อถกเถียงทางการเมืองที่ร้อนแรงมากขึ้นทุกขณะในเวลานี้ คือ ประเด็นระหว่าง
ประชาธิปไตยกับการสืบทอดอำนาจ หรืออนุรักษ์นิยมประชาธิปไตยกับเสรีนิยมประชาธิปไตย
หรือการให้ความสำคัญแก่ประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศมากกว่าความชอบธรรมในการเข้า
สู่และใช้อำนาจ จะทำให้ความยากจนลดลง ลดความเหลื่อมล้ำลง ส่งผลให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ
มากขึ้นและทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น หรือไม่อีกนัยหนึ่งคือ ในการต่อสู้ทางความคิด
กันระหว่างแนวคิดปฏิบัตินิยมกับแนวคิดหลักการนิยมนั้น ฝ่ายปฏิบัตินิยมให้ความสำคัญแก่
การบริหารพัฒนาบ้านเมืองที่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ติดใจว่าจะมีความเป็นประชาธิปไตยมาก
หรือน้อยเพียงใด โดยเห็นว่า สาระ สำคัญกว่า รูปแบบ ในขณะที่ ฝ่ายหลักการนิยม เห็นว่า
การเมืองการปกครองที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด น่าจะนำไปสู่ การเมือง “ที่ดีกว่า”
และการแก้ปัญหาความยากจนที่ได้ผลมากกว่าในอนาคต แม้ว่าการเมืองในปัจจุบันอาจจะ
เปราะบาง และมีต้นทุนที่สูง
ความเหลื่อมล้ำที่นำมาซึ่งความขัดแย้งทางการเมืองได้สั่งสมมาในสังคมไทยเป็นเวลานาน
จนยากต่อการแก้ไขนั้น มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากการที่การเมืองไทยพัฒนาไปใน
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 ความร่ำรวยโดยไม่ให้ความสำคัญแก่การสร้างโอกาสและความสามารถที่เท่าเทียม และความไม่
ทิศทางที่กลายเป็นประชาธิปไตยทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยค่านิยมของการแข่งขันแสวงหา
เข้าใจและรอบรู้จริงถึงความหมายและสาระสำคัญของหลักการประชาธิปไตยตะวันตก
ผนวกกับการที่สังคมไทยยังไม่ตกผลึกความคิดทางการเมืองในเชิงเป้าหมายร่วมกันว่า
ประชาธิปไตยไทย พลเมืองไทย พรรคการเมืองไทย สถาบันการเมืองไทย การเข้าสู่อำนาจ