Page 201 - kpi21190
P. 201
201
การใช้อำนาจและการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจ ควรเป็นเช่นใด เงื่อนไขทางสังคมและ
เศรษฐกิจดังกล่าวนี้ จึงผลักไสคนไทยเข้าสู่กับดักวงจรอุบาทว์ของ “ประชาธิปไตยทุนนิยม
สามานย์อุปถัมภ์” ที่เติบโตขึ้นมาบนฐานของโครงสร้างสังคมแบบสืบสถานะที่ไม่ยึดถือ
ความสามารถและเคารพในเหตุผลและไม่มีความเป็นธรรม สังคมไทยจึงได้ละเลยหลงลืมคติ
ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในแบบวิถีตะวันออกที่ให้ความสำคัญแก่ การให้อภัย
การรอมชอม การแบ่งปัน การอยู่ร่วมกัน การรับผิดชอบร่วมกัน และการให้ทุกคนมีที่ยืน
ในพื้นที่การเมือง
การเมืองไทยที่ผ่านมา จึงเป็นการเมืองแบบแก่งแย่งอำนาจ (retributive politics)
ความขัดแย้ง ทางความคิดและผลประโยชน์ระหว่างทหาร ฝ่ายเสรีนิยมคนรุ่นใหม่ ฝ่ายอนุรักษ์
นิยมจึงยังดำรงอยู่ ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน มีความโกรธแค้น ไม่พอใจต่อกัน ยังไม่ให้อภัยกัน
พร้อมที่จะเกิดความรุนแรงอีก หากมีเชื้อประทุ ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงมุ่ง
ส่งเสริมการพัฒนาการเมืองของไทยให้เป็นการเมืองแบบประนอมอำนาจ (restorative
politics) ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่กำหนดให้ประชาชนและรัฐทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้อง
เที่ยงธรรม และกำหนดให้มีแผนการปฏิรูปประเทศที่จะนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง
การปฏิรูปที่สำคัญ คือ การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและการขยับสถานะ
ทางเศรษฐกิจสังคม การสร้างความสามารถเป็นตัวตัดสินการได้มาซึ่งความมั่งคั่ง เกียรติยศ
และอำนาจ และการจัดการศึกษาที่มีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนราชการและองค์กรปกครอง
ท้องถิ่นเพื่อให้การศึกษาเป็นการศึกษาที่สร้างความเป็นพลเมือง
ผู้เขียนเสนอว่านอกเหนือจากการปฏิรูปประเทศตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
แล้ว เราควรร่วมกันสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เหมาะกับประเทศไทย นั่นคือ วัฒนธรรม
ทางการเมืองแบบ “การเมืองพอเพียง” (sufficiency politics) ซึ่งเป็นความเชื่อ ค่านิยม
และวิถีทางการเมืองที่หล่อหลอมสร้างขึ้นมาจากการจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง
ในรูปแบบและประเด็นนโยบายสาธารณะที่จัดทำกันอย่างเป็นระบบทั้งสังคม ในรูปแบบ
ของขบวนการของการเคลื่อนไหวสร้างการตื่นรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อทำให้เกิด
ความรอบรู้ใหม่ทางการเมือง (new political literacy movement) โดยเปิดพื้นที่ให้มี
การร่วมกันคิดและริเริ่มกิจกรรมทางการเมืองในทุกระดับของพื้นที่และของทุกกลุ่มช่วงวัย
อันเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพหุนิยม เน้นให้มีกระบวนการเรียนรู้ทาง
การเมืองที่ทำให้ผู้คนรอบรู้ทางการเมือง ยอมรับความแตกต่างหลากหลายในความคิดและ
พฤติกรรมทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม ต้องทำให้คนได้คิด ได้ทำกิจกรรมการเมือง
ร่วมกันกับคนที่คิดต่าง ปรับกระบวนการเมืองการปกครองการบริหารให้สร้างสรรค์ ส่งเสริม
นวัตกรรมทางการเมืองที่หลากหลาย ที่มีความหมาย ตอบโจทย์สำคัญของประเทศ การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2