Page 197 - kpi21190
P. 197

197



                       7.  การตรวจสอบถ่วงดุลกันและกันของทุกฝ่าย


                         กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ มีหน้าที่ร่วมกันกำหนดมาตรฐานทาง
                  จริยธรรม ซึ่งต้องระบุให้ชัดแจ้งด้วยว่าการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมใด
                  มีลักษณะร้ายแรง เพื่อใช้บังคับแก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
                  ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาล รัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ

                  รวมถึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี มาตรฐานทางจริยธรรม
                  อย่างร้ายแรงเป็นลักษณะต้องห้ามที่สำคัญประการหนึ่ง และอาจเป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่งได้
                  (มาตรา 219)

                  4. ความเห็นต่างที่มีต่อบทบัญญัติบางประการในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560


                       จากการวิเคราะห์เอกสารและสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและ

                  การประชุมปฏิบัติการ มีข้อโต้แย้งว่า แนวทาง มาตรการและกลไกที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
                  พ.ศ. 2560 จะช่วยเสริมเสถียรภาพทางการเมืองได้เพียงใดและในบางเรื่องไม่ได้ส่งเสริมความ
                  เป็นประชาธิปไตย ซึ่งพอที่จะประมวลความเห็นแย้งความเห็นต่างได้สิบประการ ดังนี้

                  4.1 ประสิทธิภาพกับความชอบธรรม: สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี


                       การให้สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 250 คน (จากการแต่งตั้งจำนวน 200 คน) มีหน้าที่และ
                  อำนาจออกเสียงเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเวลา 5 ปีนับแต่รัฐธรรมนูญ
                  พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ เป็นการบั่นทอนพลังทางการเมืองของผู้แทนประชาชนที่มาจาก
                  การเลือกตั้ง เป็นการสืบทอดอำนาจ และจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและเสถียรภาพ

                  ทางการเมือง อย่างไร

                  4.2 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

                       การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและศาลฎีกา ทำหน้าที่วินิจฉัยสั่งการในการถอดถอน

                  ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแทนการควบคุมทางการเมืองกันเองของฝ่ายนิติบัญญัติและ
                  ฝ่ายบริหาร มีความถูกต้อง ชอบธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย หรือไม่ เป็นการทำให้
                  พัฒนาการทางการเมืองของพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
                  ล่าช้าออกไป หรือไม่

                  4.3 การเพิ่มหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ


                       การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ตรวจสอบและ
                  วินิจฉัยการทำหน้าที่และการใช้อำนาจทางการเมือง เป็นการลดทอนพลังทางการเมืองในการ
                  ถ่วงดุลและตรวจสอบกันเองเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนในฐานะผู้แทนของ                   การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2

                  ประชาชน หรือไม่ เช่น การเพิ่มอำนาจให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญในการสั่งให้รัฐมนตรี สมาชิกสภา
   192   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202