Page 192 - kpi21190
P. 192

192



               1. การตรวจสอบและถ่วงดุลทางการเมืองที่ยังด้อยประสิทธิภาพนำไปสู่

               การไม่มีเสถียรภาพ


                     ตลอดระยะเวลา 87 ปีที่ผ่านมา การเมืองการปกครองไทยระบบรัฐสภาประสบปัญหา
               พื้นฐาน 4 เรื่อง คือ 1) ประสิทธิภาพหรือเสถียรภาพของรัฐบาล 2) เสถียรภาพทางการเมือง
               3) ความชอบธรรมในการใช้อำนาจและความรับผิดชอบต่อประชาชน และ 4) ความเป็น

               พลเมืองและการทำหน้าที่ทางการเมืองของประชาชน ที่ผ่านมาพอสรุปให้เห็นภาพรวมได้ว่า

                     ฝ่ายนิติบัญญัติยังไม่เข้มแข็ง เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถูกครอบงำจากผู้บริหาร
               พรรคการเมืองเพราะมีหนี้บุญคุณ การควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหารไม่มีประสิทธิภาพ

               เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การยื่นญัตติ การตั้งกระทู้ถามกระบวนการนิติบัญญัติมีขั้นตอน
               มากและถูกละเลยทำให้มีความล่าช้า สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งมีความเกี่ยวข้องกับ
               พรรคการเมืองที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารไม่ได้รับ
               ความสนใจจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และความอ่อนแอของระบบผู้แทนกับการแทรกซ้อน
               จากอิทธิพลนอกระบบ


                     ฝ่ายบริหารมักไม่มีเอกภาพเพราะเป็นรัฐบาลผสมมาจากหลายพรรคการเมืองทำให้ขาด
               เสถียรภาพ ฝ่ายบริหารไม่ให้ความสนใจกับการควบคุมของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาลที่มีอิทธิพล
               นอกระบบหนุนหลังทำให้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติอย่างจริงจัง ไม่มีพรรคการเมืองใด
               พรรคการเมืองหนึ่งได้รับเลือกตั้งให้มีเสียงข้างมากในสภาพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้

               และการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งระหว่างเสียงข้างมากในสภากับรัฐบาล
               หากแต่เกิดจากความขัดแย้งภายในกลุ่มสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลกันเอง

                     ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระประสบวิกฤติความน่าเชื่อถือ เพราะการปฏิบัติงานไม่มี

               อิสระแท้จริง มักถูกแทรกแซงตั้งแต่ขั้นการสรรหา การทำหน้าที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ได้
               ทำงานเชิงรุก บางครั้งมีคำถามในเรื่องความกล้าหาญทางจริยธรรม ความร่วมมือกันระหว่าง
               องค์กรอิสระและระหว่างองค์กรอิสระกับศาลรัฐธรรมนูญมีค่อนข้างน้อย และต้นทุนทางสังคม
               ความไว้เนื้อเชื่อใจ ของสังคมยังมีน้อย


                     สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปรากฏการณ์ดังกล่าว มาจากการออกแบบความสัมพันธ์
               ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ผ่านมา อาจมุ่งแก้ไขปัญหา
               ทางการเมืองบางเรื่องหรือมุ่งกำหนดรูปแบบของการเมืองไปในทิศทางที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   ประชาธิปไตยสากลและเปิดโอกาสให้ประชาชน กลุ่มคน พรรคการเมืองได้เรียนรู้และพัฒนา
               ต้องการมากกว่าการวางหลักการมาตรการและกลไกพื้นฐานในระบบรัฐสภาที่เป็น


               มีพลวัตรตามธรรมชาติสอดคล้องกับบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ
               เทคโนโลยีของโลกและประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197