Page 193 - kpi21190
P. 193

193



                  2. ความมุ่งหมายในภาพรวมของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560


                       จากคำปรารภของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560 เห็นได้ว่า มีความมุ่งหมาย

                  เพิ่มประสิทธิภาพ ของสถาบันทางการเมืองโดยเพิ่มความสามารถของทุกสถาบันทางการเมือง
                  ในการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง รวดเร็ว อิสระ และมีธรรมาภิบาล เพิ่มเสถียรภาพทางการเมือง
                  มุ่งลดความขัดแย้งทางการเมือง ส่งเสริมให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ศาลรัฐธรรมนูญและ
                  องค์กรอิสระ มีความร่วมมือกัน มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อกันเพื่อก่อประโยชน์สุขแก่

                  ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคม โดยให้รัฐมีหน้าที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและ
                  ใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์และบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และมุ่งปฏิรูป
                  ประเทศในทุกด้าน การสร้างความเป็นพลเมืองและส่งเสริมการทำหน้าที่ทางการเมืองของ
                  ประชาชน


                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดหลักการ มาตรการและวิธีการ ตรวจสอบและ
                  ถ่วงดุลอำนาจที่มุ่งให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทำหน้าที่ได้ดี คุ้มครองให้ประชาชนใช้สิทธิและ
                  เสรีภาพได้จริง ให้ฝ่ายบริหารสามารถนำนโยบายที่แถลงไปปฏิบัติบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
                  และธรรมาภิบาล และองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบให้ทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนได้

                  ถูกต้องชอบธรรม รวมทั้งมีกระบวนการและกลไกในการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และ
                  อำนาจของทุกฝ่ายให้มีความสมดุล ราบรื่น และบรรลุประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถของ
                  ทุกสถาบันทางการเมืองในการทำหน้าที่อย่างถูกต้อง รวดเร็ว อิสระ และมีธรรมาภิบาล

                       รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติเรื่องหรือประเด็นใหม่ที่ไม่เคยกำหนดมาก่อน

                  หลายประการ เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมืองโดยกำหนดให้
                  รัฐบาลบริหารงานอย่างมีทิศทางชัดเจนตามนโยบายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและ
                  แผนปฏิรูปประเทศและใช้อำนาจโดยต้องพร้อมรับผิด เพื่อให้รัฐสภาเป็นที่ทุกฝ่ายนำปัญหา

                  ความต้องการ ความคิดเห็นต่างมาหาข้อยุติ ทางออกโดยสันติวิธี เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญและ
                  องค์กรอิสระ ทำงานเชิงรุก รวดเร็ว อิสระและร่วมมือช่วยเหลือกันในการตรวจสอบการใช้
                  อำนาจรัฐเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง มุ่งลดความเหลื่อมล้ำซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของความ
                  ขัดแย้งโดยการปฏิรูปประเทศในเจ็ดด้าน โดยเฉพาะการศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้ง
                  มุ่งเสริมสร้างความเป็นพลเมือง โดยให้ประชาชนมีหน้าที่ในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับ

                  มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การขอให้
                  หน่วยงานของรัฐกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือยับยั้งการกระทำในสิ่งที่สร้างความเดือดร้อน
                  โดยกำหนดสิทธิแก่ประชาชนในการเสนอร่างพ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของรัฐ

                  และการเสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ระบบการเลือกตั้งที่ยึดถือความนิยมที่ประชาชนมีต่อ
                  พรรคการเมืองเป็นตัวกำหนดจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคในสภา การพัฒนาพรรคการเมือง                การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
                  ซึ่งเป็นกลไกสำคัญให้มีความเป็นสถาบันทางเมือง
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198