Page 194 - kpi21190
P. 194
194
3. แนวทาง มาตรการและกลไกส่งเสริมการตรวจสอบและถ่วงดุล
ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดแนวทาง มาตรการและกลไกส่งเสริมการตรวจสอบ
และถ่วงดุลที่เพิ่มขึ้นจากที่เคยบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550
หลายประการที่สำคัญ ได้แก่
1. การเพิ่มประสิทธิภาพของฝ่ายบริหาร
1.1 การได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีที่มีการเสนอชื่อให้ประชาชนได้ทราบล่วงหน้าเพื่อ
สร้างการยอมรับในสังคม
1.2 กำหนดให้รัฐบาลบริหารงานตามหลักความรับผิดชอบร่วมกันและปฏิบัติตาม
รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม
1.3 การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย
และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา
1.4 กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี
(มาตรา 164)
1.5 กำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจนที่ให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
2. มาตรการและกลไกที่รัฐบาลสามารถใช้เพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง
2.1 เมื่อมีเหตุอันควร คณะรัฐมนตรีจะขอให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้มีผล
เป็นข้อยุติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่อง
ที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้ (มาตรา 166)
2.2 นอกจากจะให้ประชาชนออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็น
ชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแล้วยังกำหนดให้กิจการเรื่องอื่นๆ ที่คณะรัฐมนตรีเห็น
ว่ามีความสำคัญและอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติและ
ประชาชนสามารถนำไปออกเสียงประชามติได้
3. การเพิ่มความสามารถของฝ่ายนิติบัญญัติ
การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 พ.ศ. 2560 บัญญัติให้มีสมัยประชุมของรัฐสภาเป็นสองสมัย โดยไม่แยกออก
3.1 รัฐสภาและสมาชิกที่ทำหน้าที่โดยรับผิดชอบต่อประชาชน รัฐธรรมนูญ
เป็นสมัยประชุมสามัญทั่วไป และสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติดังเช่นที่กำหนด
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550