Page 191 - kpi21190
P. 191

191


               เอกสารประกอบ
               การสัมมนา
               กลุ่มย่อยที่ 2
















                                 ประสิ ธิภาพ าง ารเมือง
                                ความเป  ประชาธิปไตย    ารลดความเหลื่อมล้ำ

                              ความส มพ  ธ ระหว่าง  าย ิติ     ติ  ริหาร
                              ละองค  รอิสระ  ร  ธรรม


                                                                            ชาติชาย ณ เชียงใหม่*



                              บทความนี้พิจารณาว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                      มีความมุ่งหมายและกำหนดหลักการและวิธีการ มาตรการในการจัดความสัมพันธ์ของ
                     ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระตามหลักของการควบคุมถ่วงดุล การตรวจสอบ
                   การใช้อำนาจรัฐไว้อย่างไร เพื่อให้สถาบันการเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเมือง

                  มีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถทำหน้าที่ที่ต้องทำ
                  ได้จริง คุ้มครองและให้ประชาชนได้ใช้สิทธิจริง รัฐบาลบริหารงานตามนโยบายที่แถลงต่อ
                  รัฐสภาได้ผลและองค์กรอิสระรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญทำงานได้จริงอันเป็นการเสริมสร้าง

                  เสถียรภาพทางการเมือง ข้อมูลที่ใช้ในการนำเสนอความคิดเห็นในเรื่องนี้มาจากผลการศึกษา
                  เบื้องต้นของงานวิจัย เรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารภายใต้
                  รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน” ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยโดยสถาบันพระปกเกล้า ระหว่าง
                  เดือนเมษายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งจากการทบทวนวรรณกรรม
                  การประชุมปฏิบัติการและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างคำถามเพื่อค้นหาความคิดเห็น

                  และการคาดคะเนจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทางการเมือง การร่างรัฐธรรมนูญ นักวิชาการ
                  และสื่อมวลชน


                    *  ศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196