Page 190 - kpi21190
P. 190

190



               และบุคลากรขององค์กรอิสระ ปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและบุคลากร

               ขององค์กรอิสระให้มีความโปร่งใส และมีการเพิ่มอำนาจให้แก่ทุกองค์กรเพิ่มขึ้นเพื่อถ่วงดุลและ
               ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระสามารถร่วมกันกำหนด
               มาตรฐานจริยธรรมเพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติงานให้แก่สถาบันการเมืองทั้งหมด รวมทั้ง
               หน่วยงานตรวจสอบยังสามารถทักท้วงการใช้เงินของประเทศเพื่อลดความเสี่ยงด้านการคลัง


                     ประการที่สอง การเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองที่ลดความขัดแย้ง รัฐธรรมนูญ
               พ.ศ. 2560 อาศัยหลักการประนอมอำนาจเพื่อทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง ลดความขัดแย้ง
               และเกิดการปฏิรูปประเทศ กล่าวคือ เป็นการประนอมอำนาจของสถาบันการเมืองทุกฝ่าย
               เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้


                     ประการที่สาม การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม แสดงให้เห็นจาก
               การปฏิรูปประเทศในทุกด้านซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการในขณะนี้ โดยการปฏิรูปประเทศ
               มุ่งเน้นการสร้างโอกาสที่เท่าเทียมมากขึ้นในการเข้าถึงทรัพยากร การพัฒนาเศรษฐกิจที่ช่วยลด

               ความเหลื่อมล้ำ และการใช้หลักความสามารถในการกลั่นกรองสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ
               ตุลาการ อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าสู่อำนาจ (sufficiently politics)

                     ประการที่สี่ การเสริมสร้างความเป็นพลเมือง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ให้สิทธิแก่
               ประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง อาทิ การเสนอกฎหมาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ

               การจัดระบบการเลือกตั้งที่ยึดความนิยมของประชาชน เป็นต้น รวมทั้งกำหนดให้ประชาชน
               มีหน้าที่เพิ่มขึ้น อาทิ การต่อต้านการทุจริต และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โบราณ
               สถาน และโบราณวัตถุ เป็นต้น

                     แนวทางสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

               ควรร่วมกันกำหนดทิศทางของสถาบันการเมืองในอนาคต สถาบันการเมืองควรทำงานรวดเร็ว
               มีความเป็นอิสระ ถูกต้อง และมีความชอบธรรม ทุกองค์กรควรร่วมมือกันทำงานโดยมี
               เป้าหมายหลักร่วมกัน คือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและประโยชน์ของประเทศชาติ สถาบัน
               การเมืองควรทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงประโยชน์สาธารณะอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และ

               เป็นธรรม ตลอดจนสถาบันการเมืองควรส่งเสริมให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในขอบเขตที่
               กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ อีกหนึ่งแนวทางสำคัญในการเสริมสร้างเสถียรภาพ
               ประชาธิปไตยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย คือ การมีกระบวนการสร้างความรอบรู้
               ทางการเมืองขึ้นมาใหม่ อาทิ ไทยควรมีพรรคการเมืองแบบใด พรรคการเมืองควรมีบทบาท
        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2   ประชาธิปไตยควรทำควบคู่ไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพราะความเหลื่อมล้ำ
               อย่างไร และพลเมืองไทยควรเป็นอย่างไร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างเสถียรภาพ


               ก็เป็นสาเหตุของการขาดเสถียรภาพของประชาธิปไตยเช่นเดียวกัน
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195