Page 189 - kpi21190
P. 189
189
ประสิ ธิภาพ าง ารเมือง
ความเป ประชาธิปไตย
ารลด ความเหลื่อมล้ำ
ชาติชาย ณ เชียงใหม่*
สาระสำคัญกล่าวถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กับการลดความเหลื่อมล้ำ
โดยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือ การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่
ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีหลักการสำคัญสี่ประการ ได้แก่
ประการที่หนึ่ง การเสริมสร้างประสิทธิภาพของสถาบันการเมืองทั้งฝ่าย
บริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอิสระ โดยสถาบันการเมืองควรทำงานให้มี
ความถูกต้องชอบธรรม และร่วมมือกัน สำหรับฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
มุ่งเน้นการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้น ทั้งจากการกำหนดวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรี
และคณะรัฐมนตรี การกำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่ง
การแสดงทรัพย์สิน และการแถลงนโยบายต่อสภา นอกจากนี้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ของฝ่ายบริหารโดยกำหนดให้รัฐมนตรีสามารถออกเสียงประชามติเพื่อหาข้อยุติในเรื่องใดเรื่อง
หนึ่งได้ รวมทั้ง สามารถเร่งรัดการทำงานของสภาผู้แทนราษฎรในการออกกฎหมาย สำหรับ
ฝ่ายนิติบัญญัติ มีการเพิ่มอำนาจตรวจสอบโดยสามารถประชุมและอภิปรายทั่วไปได้ง่ายขึ้นและ
มากขึ้น กล่าวคือ กำหนดให้มีสมัยประชุมสองสมัยโดยไม่แยกว่าเป็นสมัยทั่วไปกับสมัย
นิติบัญญัติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสนอญัตติและอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติไว้วางใจ
ได้ปีละหนึ่งครั้ง ผู้นำฝ่ายค้านมีสิทธิเสนอขอต่อประธานรัฐสภาเพื่ออภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติได้
และสำหรับฝ่ายตุลาการและองค์กรอิสระ มีการเพิ่มคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
* ศาสตราจารย์ ดร., อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และอาจารย์ประจำคณะ
รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์