Page 184 - kpi21190
P. 184

184



                     หากเราเข้าใจความเหลื่อมล้ำ จะพบว่าคู่ตรงข้ามคือ ความเป็นธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของ

               กลุ่มคนที่มีโอกาสกับคนที่ขาดโอกาส เป็นเรื่องการจัดการกลไกในกระบวนการยุติธรรม ในทาง
               นิติศาสตร์กระบวนการยุติธรรมคือกระบวนการที่นำกฎหมายไปบังคับใช้ เพราะฉะนั้นกฎหมาย
               จึงสำคัญในกระบวนการนี้ เพราะกฎหมายถูกนำไปบังคับใช้จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้วย
               ในอีกแบบหนึ่ง ซึ่งในความเหลื่อมล้ำมีทั้งระดับจุลภาค ระดับมหัพภาค ที่เป็นทั้งเหตุทั้งผล

               บางครั้งด้วยความไม่เท่าเทียม และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เลยเกิดความเหลื่อมล้ำยิ่ง ๆ ขึ้นไป
               หรือบางทีอาจเป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมที่เกิดจากการจัดการที่ไม่เข้าที่เข้าทางจนทำให้
               เกิดความเหลื่อมล้ำตามมา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ความเป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ
               เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดจากทั้งทางโครงสร้างและการกระทำทางสังคมระหว่างกัน

               หากมองในมุมของการขับเคลื่อนจะต้องมาดูว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ได้อย่างไร เพื่อที่
               จะทำให้เกิดกฎหมายที่เป็นธรรม มีการปฏิรูประบบกฎหมายและระบบยุติธรรมได้จริง ในส่วน
               ของการเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ต้องเคลื่อนในเชิงระบบและมีปฏิสัมพันธ์กัน รวมทั้งต้องมีการบูรณา
               การอย่างมีพลังต่อเนื่อง ต้องมีนโยบายของรัฐบาลสนับสนุน เพื่อให้เห็นภาพของการเคลื่อน

               อย่างเป็นระบบและมีปฏิสัมพันธ์กัน อาจารย์ได้ยกตัวอย่างว่าสังคมอยู่โดยปราศจากกฎหมายได้
               แต่กฎหมายจะไม่มีความหมายอะไรเลยหากขาดสังคม ดังนั้นจึงไม่สามารถจัดการแบบแยก
               ส่วนได้ จึงต้องดึงสังคมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งการจะเกิดกฎหมายที่เป็นธรรมได้จะต้องเกิด
               จากการมีส่วนร่วมของสังคม แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ากฎหมายของไทยนั้นใช้ตัวแบบที่เรียกว่า

               Elite Model ที่บังคับใช้จากบนลงล่าง หรือบางทีเสนอไปจากหน่วยงาน แต่ไม่เคยลงไปถึงราก
               หรือไปถามประชาชนซึ่งเป็นโมเดลแบบกระบวนการหรือแบบเชิงเหตุผล ซึ่งถ้าขาดการมี
               ส่วนร่วม มักจะเกิดทัศนะในเชิงต่อต้านจากประชาชนว่าทำไมไม่รู้เรื่องว่ามีการบังคับใช้
               กฎหมายนี้ออกมา เกิดอคติตามมา ดังนั้นวิธีลดความรู้สึกแตกแยกตรงนี้คือให้ย้อนกลับไป

               หาความชอบธรรมจากภาพรวมก่อน โดยการมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย ซึ่งตรงนี้มันจะ
               พ่วงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ที่ 10 และ
               เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ที่ 16 ของ
               สหประชาชาติด้วย


                     ในส่วนของการขับเคลื่อนจะต้องมีการบูรณาการให้มีพลังอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย
               การเคลื่อนไหวทางสังคมโดยเฉพาะในทางวิชาการ และในทางปฏิบัติ กล่าวคือหากจะขับเคลื่อน
               ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบาย โดยต้องเป็นนโยบายในระดับ
               บนของโครงสร้างที่มีความผูกพันกัน นอกจากนั้นการจะเคลื่อนไหวทางสังคมได้ ประชาชนจะ

        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1   สามารถเสนอความเห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ ในการขับเคลื่อนการสร้างสมัชชาก็เป็นแนวคิด
               ต้องสามารถรวมกลุ่มให้เป็นสมัชชาให้ได้เพื่อจะเป็นพื้นที่กลางที่ทำให้ทุกภาคส่วน ทุกระดับ

               หนึ่งที่เสนอโดยอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม หากไม่ใช่เรื่องของการมีส่วนร่วม การบังคับใช้
               กฎหมายที่เท่าเทียมควรคำนึงถึงสิทธิความเสมอภาคของประชาชน อาจารย์ได้เสนอเรื่อง
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189