Page 179 - kpi21190
P. 179
179
ป ิร ป หมายเพื่อความเป ธรรม
ละลดความเหลื่อมล้ำ ส งคม
สมชาย หอมลออ*
ในแง่ของระบบกฎหมายของประเทศไทยเห็นว่ายังก้าวไม่พ้นต่อ
แนวคิดอนุรักษ์นิยมทางกฎหมาย ที่เรียกว่าหลักกฎหมายบ้านเมือง
ที่เป็นคำสั่งขององค์อธิปัตย์ จึงต้องทำตามระบบ โดยไม่ตั้งคำถามว่าต้องทำหรือไม่
จนกลายเป็นว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยนั้นยอมรับอำนาจการปฏิบัติ
ซึ่งขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมนิติรัฐ อย่างไรก็ตามในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 นั้น
ให้น้ำหนักไปยังสำนักกฎหมายธรรมชาติมากขึ้น คือให้ความสำคัญไปยังหลัก
สิทธิมนุษยชน ประเด็นอยู่ที่หลักการสิทธิมนุษยชนที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น
ถูกนำไปตราเป็นกฎหมายมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญมีผลหรือ
นำไปสู่การวินิจฉัยของศาล
แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันของนักกฎหมายว่าการยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหารนั้น
เป็นการทำลายหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม เห็นควรว่าไม่ควรแยกแล้ว ในองค์กร
สหประชาชาติเมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้ก็รวมเป็นอันเดียวกัน เนื่องจากนิติรัฐ หรือรัฐที่ปกครอง
โดยกฎหมายก็คือประเทศที่ปกครองโดยนิติธรรม ไม่ใช่การปกครองโดยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
และต้องเป็น นิติรัฐ (Rule of Law) ไม่ใช่ นิติธรรม (Rule by Law) เพราะหลายครั้ง
กฎหมายไม่เป็นธรรมกับทุกคน จะก่อให้เกิดการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ (judicial
harassment) ในการปราบปรามประชาชนได้ กฎหมายจึงต้องเป็นธรรม และความเป็นธรรมนี้
ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนตามแนวทางของสหประชาชาติ เนื่องจากประเทศ
ไทยเป็นภาคี มีภาระผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย และการจะอยู่ภายใต้กฎหมาย
* เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา