Page 177 - kpi21190
P. 177

177













                                              ้ป  หาความเหลื่อมล้ำ
                                              ระ ว  ารยุติธรรม


                                                                         ปริญญา เทวานฤมิตรกุล*








                                       ภาพรวมของสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำ แม้จะมีการพูดถึง
                                การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างเข้มข้นนับตั้งแต่ พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา แต่ยัง
                               ไม่ท่าทีที่เป็นรูปธรรมมากนัก มากไปกว่านั้นตัวเลขความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย

                             ก็เพิ่มกว่าเดิม ใน พ.ศ. 2553 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 10 ในการจัดลำดับความเหลื่อมล้ำ
                           แต่ใน พ.ศ. 2561 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ซึ่งการจะพูดเรื่องนี้ได้จะต้องเข้าใจว่า
                         ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจนั้นเชื่อมโยงกับการเมืองอย่างไร จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้
                       อย่างตรงจุด


                          ในห้าปีที่ผ่านมานั้นได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการรวมศูนย์ทางการเมืองทำให้เกิดการรวมศูนย์
                   ทางเศรษฐกิจ จนเกิดการรวยกระจุก จนกระจาย กลายเป็นประเทศเหลื่อมล้ำที่สุดในโลก การแก้
                  จึงต้องแก้เรื่องการเมือง และกฎหมายจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ภายใต้นิยามการเมืองของไฮโล
                  รัสเวล นั้นมองว่าการเมืองคือใคร ได้อะไร เมื่อไร อย่างไร และใครที่ว่านั้นก็คือประชาชนในฐานะ

                  เจ้าของประเทศที่จะต้องจัดการ เลือกตั้งเพื่อหาตัวแทนเข้ามาจัดสรรทรัพยากรอย่างเท่าเทียม
                  อย่างไรก็ตามก็มักมีการกล่าวว่าคนรวยกับคนจนในเรื่องของภาษีนั้นเสียไม่เท่ากัน คนที่เสียมากกว่า
                  จึงต้องมีสิทธิทางการเมืองมากกว่า ซึ่งความจริงแล้วภาษีนั้นมีสองแบบ คือภาษีทางตรงและภาษี

                  ทางอ้อม และภาษีทางอ้อมนั้นนับเป็นร้อยละ 70 ของภาษีทั้งหมด และเมื่อจัดเก็บภาษีแล้วก็ควรมี
                  การจัดสรรอย่างโปร่งใสเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ และควรจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติ
                  งบประมาณ เพื่อให้ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นผู้ถือเงิน ตัวอย่างที่กล่าวมาจะทำให้เห็นหลักการ
                  ที่กล่าวว่าหากต้องการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำทางการเมือง



                    * ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182