Page 178 - kpi21190
P. 178

178



               แม้กฎหมายจะเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ลดความเหลื่อมล้ำ แต่หากผู้เขียนกฎหมายไม่ได้อยู่ข้าง

               ประชาชน ก็จะทำให้มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ดังนั้นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำจะต้องมาแก้ที่
               การเมือง และอำนาจของฝ่ายกฎหมายให้ประชาชนมีอำนาจมากขึ้น ฝ่ายนิติบัญญัติต้องมาจากเสียง
               ของประชาชน โดยใช้กระบวนการเลือกตั้งในการคัดสรรผู้แทน และต้องแก้รัฐธรรมนูญ โดยให้
               ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่าง


                     อาจารย์ได้ชี้ชัดเรื่องกระบวนการยุติธรรมกับเรื่องความเป็นธรรมเพื่อฉายภาพของ
               ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของผู้ต้องขัง
               ในเรือนจำ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังในเรือนจำราว 370,000 คน ในขณะที่เรือนจำมีความจุได้แค่
               150,000 คนเท่านั้น โดยในร้อยละ 30 นั้นเป็นผู้ต้องขังที่รอการพิพากษา ซึ่งในรัฐธรรมนูญมาตรา

               29 วรรค 2 ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้มีความผิด อยู่รอ
               การพิพากษาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดไม่ได้ อันนี้คือหลักการ
               สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธ์ (presumption of innocence) ซึ่งหลักนี้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชน
               แต่ในหลักปฏิบัตินั้นทำไมเขาถึงอยู่ในเรือนจำ และถูกขังรวมกับผู้ต้องหาคนอื่น ๆ รวมทั้งถูก

               ปฏิบัติเหมือนกันกับนักโทษที่ต้องใส่กุญแจเท้า ใส่ชุดนักโทษ ตัดผมทรงเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่หากว่า
               ตามหลักการเขาคือผู้บริสุทธิ์ตามหลักรัฐธรรมนูญ ซึ่งประเด็นที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตคือหลักประกัน
               ของประเทศไทยนั้นมันเป็นการใช้เงินประกันตัว ซึ่งความเหลื่อมล้ำทางการเงินจะสร้างความไม่เป็น
               ธรรมในกระบวนการยุติธรรมขึ้น เนื่องจากหากคนมีเงินประกันตัว ในคดีเดียวกันนั้นคนที่มีเงินก็จะ

               กลายเป็นคนที่ไม่มีความผิด ไม่ต้องรอพิจารณาคดี ในขณะที่ในประเทศไทยกลุ่มคนจำนวนน้อย
               เท่านั้นที่มีเงินประกันตัว ส่วนมากเมื่อคนจนไม่มีเงินประกันตัว ก็ต้องเป็นผู้ต้องหาและถูกขังในเรือน
               จำในระหว่างรอพิจารณาดี เมื่อออกจากเรือนจำพวกเขาก็จะมีประวัติอาชญากรติดตัว และ
               ไม่สามารถหางานดี ๆ ได้ นี่คือความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งอันจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมาก

               ซึ่งทางแก้คือจะต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติต้องไปแก้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อ
               แก้ปัญหาเรื่องการไม่มีเงินประกัน และการอยู่รอพิพากษาความผิด ว่าจะต้องไปบริการสังคมแทน
               ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ












        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 1
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183