Page 183 - kpi21190
P. 183
183
ารเสริมสร้างความเสมอภาค
ด้วยระ หมาย
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย*
กระบวนการยุติธรรมเน้นไปยังมุมมองด้านนิติศาสตร์ จึงเสนอมุมมอง
แต่แตกต่างออกไปด้วยแง่มุมในเชิงสังคมวิทยาในเชิงกฎหมาย ที่จะเกี่ยวโยง
กับเรื่องของอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม โดยในเรื่องของการเสริมสร้าง
ความเสมอภาคด้วยระบบกฎหมายจะต้องเริ่มต้นด้วยการนิยามความหมายของ
คำว่าเสมอภาค และระบบกฎหมายกับสังคมเสียก่อน เนื่องจากจะเห็นว่ามี
ความย้อนแย้งกันระหว่างคำว่าความเสมอภาค ความเหลื่อมล้ำ และระบบกฎหมาย
ความเหลื่อมล้ำกับความเสมอภาคนั้นคือคู่ตรงข้ามกัน ด้วยธรรมชาติของสังคมนั้น
ประกอบด้วยความหลากหลายและไม่เท่าเทียมอยู่แล้ว ทฤษฎีดอกไม้หลากสีเกิดขึ้น
เนื่องจากสิ่งนี้ เพราะมนุษย์มีความแตกต่าง ไม่นิ่ง มีความเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนไหว
ตลอดเวลา ในขณะที่กฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่นิ่งและถูกนำไปวางทาบทับสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา แต่ไม่ปรับกฎหมายให้ทันสมัยตามสังคม มันก็จะกลายเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อ
การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งความย้อนแย้งตรงนี้มีลักษณะเชิงสัมพัทธ์ในลักษณะที่เอา
ไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ดังนั้นกฎหมายหากต้องมาแก้ให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมจริง
จะต้องระมัดระวังไม่ให้มีลักษณะเชิงสัมพัทธ์ แต่ต้องเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจริง เช่น
ความเหลื่อมล้ำที่เกิดกับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง กลุ่มชายขอบ หรือกลุ่มยากจน
ที่กระบวนการยุติธรรมเข้าไปจัดการหลายเรื่อง ซึ่งเมื่อเอากฎหมายไปวางไว้บนความเหลื่อมล้ำ
ซึ่งไม่นิ่ง กฎหมายก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ เพราะไม่มีวันที่ทุกคนจะเสมอภาคได้ มันมี
เฉพาะกฎหมายแล้วก็เป็นกฎหมายบ้านเมืองแบบที่คุณสมชาย หอมลออกล่าว ไม่ใช่กฎหมาย
ธรรมชาติ
* รองศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย