Page 199 - kpi21190
P. 199
199
4.7 ที่มา หน้าที่และอำนาจของวุฒิสภา
การให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาร่างกฎหมายร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ เป็นการบั่นทอนพลังทางการเมืองของผู้แทนประชาชนที่มาจาก
การเลือกตั้ง และจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมืองอย่างไร
4.8 ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมโดยการมีบัตรเลือกตั้งใบเดียว
เป็นการจำกัดสิทธิของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหรือไม่ ทำให้ได้จำนวนสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่สะท้อนถึงความนิยมที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งมีต่อผู้สมัคร
และแต่ละพรรคจริงหรือไม่ ทำให้พรรคการเมืองไทยเข้มแข็งขึ้นจริงหรือไม่ เป็นการทำให้พรรค
ขนาดใหญ่มีขนาดที่ไม่ใหญ่จนกลายเป็นพรรคใหญ่พรรคเดียว
4.9 การพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมือง
การกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมืองเป็นการจำกัดการใช้สิทธิ
พลเมืองและเอกสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ และจะส่งผลต่อการพัฒนาของ
พรรคการเมืองไปเป็นสถาบันทางการเมือง หรือไม่ เพียงใด การทำให้พรรคการเมืองเป็น
สถาบันทางการเมือง: ตั้งยาก ยุบไม่ยาก เหมาะสมดีหรือไม่ ทำไมไม่ทำให้ตั้งพรรคง่ายและถูก
ยุบเลิกง่ายด้วยการกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสมาชิกพรรคอย่างน้อย 10,000 คนใน 4 ปี
และมีสาขาพรรคในทุกภาคและมีสมาชิกอย่างน้อย 500 คนในแต่ละสาขาพรรคในแต่ละภาค
ให้มีตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดในเขตเลือกตั้งของจังหวัดที่มีสมาชิกมากกว่า 100 คน
และไม่ใช่ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่หรือสาขาพรรค ทำกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่นั้น การส่ง
ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตในจังหวัดและเขตเลือกตั้งใดต้องมีสาขาพรรคหรือ
ตัวแทนพรรคในเขตนั้น มีสมาชิกพรรคอย่างน้อย 100 คน การให้สมาชิกพรรคในแต่เขตเลือกตั้ง
เป็นผู้เลือกบุคคลที่จะส่งเป็นผู้สมัครในนามของพรรคหรือไพรมารี่โหวต การกำหนดให้พรรค
จ่ายเงินได้เฉพาะที่เป็นรายได้ของพรรคโดยเงินกู้ถือว่าไม่ใช่รายได้ การกำหนดหลักเกณฑ์
การทำหน้าที่ของพรรคการเมืองและบทลงโทษกรรมการบริหารพรรคและการยุบพรรค
การพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันทางการเมือง เราไม่เคยมีชุดแนวคิดเชิง
ความมุ่งหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองในประเทศนี้เลย ควรส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเสนอ
ชุดความคิดขนาดใหญ่ (grand concept) ว่าด้วยพรรคการเมืองในประเทศไทย หรือไม่
หรือไม่ต้องมีการจัดการการพัฒนาการเมืองตัวแบบความคิดที่ว่าด้วยบทบาท หน้าที่ และความ
รับผิดชอบของพรรคการเมืองที่เหมาะสมกับบริบททางการเมือง วัฒนธรรม ประชากรและ
เทคโนโลยี รวมทั้งวิถีชีวิตของคนไทยใน 20 ปีข้างหน้า การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2