Page 206 - kpi21190
P. 206

206



               ผู้กำกับทำตามกติกาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในการอภิปรายครั้งนี้ วิทยากรมุ่งเน้นอธิบาย

               เกี่ยวกับ “กติกา” เท่านั้น ปัจจุบัน กติกาตามรัฐธรรมนูญที่ส่งผลให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพ
               มีสามประการ ได้แก่ 1) การเลือกตั้งโดยใช้บัตรใบเดียว 2) วิธีการคำนวณหาสมาชิกสภา
               ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และ 3) การปัดเศษคะแนนในการคำนวณหาสมาชิกสภาผู้แทน
               ราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ กติกาเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะ “รัฐนาวาปริ่มน้ำ” ซึ่งหมายถึง การที่

               รัฐบาลมีเสียงใกล้กันมากกับฝ่ายค้าน และพรรคร่วมรัฐบาลมีอำนาจต่อรองเพื่อจุดประสงค์
               สำคัญ ส่งผลให้การเมืองไม่มีเสถียรภาพอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ ยังมีกติกาอื่น ๆ
               ในรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างเถียรภาพทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติกลับส่งผล
               ตรงกันข้าม กล่าวคือ การกำหนดให้มียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

               ในการพัฒนาประเทศแม้มีการเปลี่ยนรัฐบาล แต่ผลที่เกิดขึ้น คือ ทำให้การพัฒนาประเทศ
               ปรับตัวได้ค่อนข้างยากตามบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา
               มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาทำ
               หน้าที่ในการพัฒนาประเทศ แต่กลับเป็นการเอื้ออำนวยต่อเสถียรภาพของผู้แต่งตั้งมากกว่า

               เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ ดังนั้น การขาดเสถียรภาพทางการเมืองเช่นนี้ย่อมทำให้
               เกิดความเหลื่อมล้ำตามมา

                     หลักการสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันก่อนหาแนวทางในการเสริมสร้างเสถียรภาพ
               ทางการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ คือ “เสถียรภาพทางการเมือง” หมายความถึง เสถียรภาพ

               ของระบบการเมืองไทย มิใช่เสถียรภาพของผู้ปกครอง หากเพิ่มเสถียรภาพให้ผู้ปกครอง
               ย่อมเป็นการเพิ่มความขัดแย้งและลดเสถียรภาพของระบบการเมือง การไร้เสถียรภาพทาง
               การเมืองเท่ากับเป็นการลดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและลดโอกาสในการแก้ไขปัญหา
               ความเหลื่อมล้ำ


                     ข้อเสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
               ในสังคมไทย ได้แก่ 1) การแก้ไขกติกาที่เป็นสาเหตุให้การเมืองขาดเสถียรภาพ 2) การสร้าง
               กลไกการคัดสรรบุคลากรทางการเมือง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและบุคลากรขององค์กรอิสระ)
               ที่มีคุณภาพ 3) การสร้างกลไกทั้งภายในและภายนอกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อการตรวจสอบ

               ถ่วงดุลอำนาจรัฐ และส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม 4) การไม่ส่งเสริมรัฐราชการ
               เพราะรัฐราชการมุ่งสร้างเสถียรภาพให้แก่ราชการเท่านั้น มิได้มุ่งสร้างเสถียรภาพให้ระบบ
               การเมืองไทย


        การประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211