Page 207 - kpi21190
P. 207
207
ติ องร ธรรม
พ ่ว่าด้วย
ารลดความเหลื่อมล้ำ
ภัทระ คำพิทักษ์*
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีคำว่า “ลด
ความเหลื่อมล้ำ” ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติอย่างชัดเจน จำนวน 4 แห่ง
โดยปรากฏอยู่ในบทบัญญัติมาตรา 54 เรื่องการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือ
ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา มาตรา 257 การปฏิรูป
ประเทศเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัด
ความเหลื่อมล้ำ มาตรา 257 ด้านกระบวนการยุติธรรม กำหนดให้มีการสร้างกลไกเพื่อ
ให้มีการบังคับการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็น
ธรรมในสังคม และมาตรา 257 ด้านเศรษฐกิจ การปรับปรุงระบบภาษีอากรให้มีความเป็น
ธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ นอกจากคำว่า “ลดความเหลื่อมล้ำ” แล้ว ยังมีคำว่า “เท่าเทียม”
และ “เป็นธรรม” ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติหลายแห่ง ซึ่งความเท่าเทียมและเป็นธรรมนับเป็น
หัวใจสำคัญของการลดความเหลื่อมล้ำด้วย ดังนั้น รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จึงเป็น
รัฐธรรมนูญที่ตอบโจทย์เรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 หลายมาตราได้เพิ่มสิทธิหรือการแบ่งปัน
ทรัพยากรและอำนาจให้แก่ประชาชน/ชุมชนโดยตรง กล่าวคือ
๏ หมวดหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีทั้งหมด 12 มาตรา (มาตรา 51 – มาตรา 63) ประชาชน
และชุมชนมีสิทธิที่จะติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมทั้งฟ้องร้องหน่วยงาน
ของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้น
* นักสื่อสารมวลชน