Page 205 - kpi21190
P. 205
205
เส ยรภาพ าง ารเมือง
ารลดความเหลื่อมล้ำ
สมชัย ศรีสุทธิยากร*
เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยเพื่อลด
ความเหลื่อมล้ำ ควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจความหมายของคำว่า
“เสถียรภาพทางการเมือง” และ “ความเหลื่อมล้ำ” ซึ่งคำว่า “เสถียรภาพ
ทางการเมือง” หมายความถึงสี่ประการ ได้แก่ 1) การที่รัฐบาลมีความมั่นคง
มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ 2) การที่รัฐบาลประกอบด้วยพรรคการเมือง
จำนวนหนึ่งไม่มากนักและพรรคการเมืองมีอุดมการณ์ทางการเมืองในทิศทางเดียวกัน
3) การที่รัฐบาลไม่ถูกกดดันหรือต่อรองจากพรรคร่วมรัฐบาลจนไม่สามารถผลักดัน
นโยบายที่เป็นเอกภาพได้ และ 4) การที่รัฐบาลมีความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่น
ให้แก่ประชาชน ส่วนคำว่า “ความเหลื่อมล้ำ” หมายความถึง ความเหลื่อมล้ำทั้งทาง
เศรษฐกิจ อาทิ ความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม อาทิ ความเหลื่อมล้ำ
ทางชนชั้นในสังคม และความเหลื่อมล้ำทางการเมือง อาทิ ความเหลื่อมล้ำในโอกาสการเข้าสู่
การเมือง ทั้งนี้ “เสถียรภาพทางการเมือง” และ “ความเหลื่อมล้ำ” ต่างส่งผลต่อกัน กล่าวคือ
“เสถียรภาพทางการเมือง” ส่งผลต่อ “ความเหลื่อมล้ำ” และ “ความเหลื่อมล้ำ” ก็ส่งผลต่อ
“เสถียรภาพทางการเมือง” ด้วยเช่นเดียวกัน
สาเหตุของการขาดเสถียรภาพทางการเมือง มีสี่ประการ ได้แก่ 1) กติกาตาม
รัฐธรรมนูญ 2) นักการเมือง 3) ผู้กำกับ หมายถึง องค์กรอิสระ และ 4) ประชาชน ซึ่งคน
ส่วนใหญ่มักคิดว่า ประชาชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แต่อย่างใด แต่ในมุมมองของวิทยากร
เห็นว่า ประชาชนมีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเป็นผู้สนับสนุนหรือส่งเสริมให้นักการเมืองและ
* รองศาสตราจารย์, อดีตกรรมการการเลือกตั้ง