Page 211 - kpi21190
P. 211
211
ารเสริมสร้างเส ยรภาพประชาธิปไตย
เพื่อ ำไปส ่ ารลดความเหลื่อมล้ำ
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย*
“ประชาธิปไตย” มีความเกี่ยวข้องกับ “รัฐธรรมนูญ” โดยนักวิชาการ
ทั่วโลกมีความเห็นว่า รัฐธรรมนูญเป็นตัวกำกับระบอบประชาธิปไตย เพราะ
ประชาธิปไตย คือ ระบบการเมืองและอำนาจรัฐ ซึ่งการใช้และการแบ่งปัน
อำนาจรัฐของรัฐสมัยใหม่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือกติกาในการควบคุม
กฎเกณฑ์หรือกติกาดังกล่าว คือ รัฐธรรมนูญ ดังนั้นหากต้องการเสริมสร้าง
เสถียรภาพของประชาธิปไตยตามหัวข้อในการอภิปรายวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่มี
ความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญ จะทำอย่างไรให้รัฐธรรมนูญเสริมสร้าง
เสถียรภาพประชาธิปไตย และเมื่อรัฐธรรมนูญสามารถสร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยได้
แล้วจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร
จากการจัดอันดับประชาธิปไตยของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 167 ประเทศโดย
The Economist พบว่า สถานการณ์ของประชาธิปไตยไทยเริ่มแย่ลงในปี พ.ศ. 2556 และ
ตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 106 ใน พ.ศ. 2561 รวมทั้ง The Economist ยังจัดประเภทของ
ระบอบการปกครองของไทยให้เป็นแบบระบบพันทางหรือระบบผสม (hybrid regime)
ซึ่งหมายถึง รัฐธรรมนูญไม่ได้นำไปสู่ระบบการเมือง กฎหมาย และสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
แม้มีการเลือกตั้งแต่อาจไม่ได้มีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบบกฎหมายไม่เป็น
ประชาธิปไตย และระบบสังคมไม่เป็นประชาธิปไตยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นจาก
ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคในสังคม เมื่อระบบการเมือง กฎหมาย และสังคมไม่เป็น
ประชาธิปไตย ผลที่ตามมา คือ ความขัดแย้งอย่างรุนแรง
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย