Page 24 - kpi20973
P. 24
23
หลักการจัดการความขัดแย้งเข้ามาแทน ดังนั นการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงสามารถช่วยลดความขัดแย้งทาง
การเมืองและเกิดความชอบธรรมในการตัดสินใจของรัฐ
4) ร่วมมือในการน้าไปปฏิบัติ : การมีส่วนร่วมจะท้าให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ
และมีความกระตือรือร้นในการช่วยให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
5) ช่วยท้าให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีความใกล้ชิดกับประชาชน : การมีส่วนร่วมของประชาชนช่วย
ให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่นเกิดความใกล้ชิด สร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความรู้สึก
ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของประชาชนไม่ใช่เป็นของนักการเมืองเท่านั น นอกจากนั นด้วยความ
ใกล้ชิดผู้บริหารท้องถิ่นจะไวต่อความรู้สึกห่วงกังวลของประชาชน และเกิดความตระหนักในการตอบสนองต่อ
ความกังวลของประชาชน
6) ช่วยพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน : การมีส่วนร่วมของ
ประชาชนเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อเรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและเป็นเวทีฝึกผู้น้าชุมชน
7) ช่วยท้าให้ประชาชนสนใจประเด็นสาธารณะมากขึ น : การมีส่วนร่วมเป็นการเพิ่มทุนทาง
สังคมและช่วยเสริมสร้างให้ประชาชน เป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นสอดคล้องกับการปกครองตามประชาธิปไตย
แบบมีส่วนร่วม
วันชัย วัฒนศัพท์ ถวิลวดี บุรีกุล และเมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี (2551: 3) กล่าวว่า ประโยชน์ของการ
มีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี
1) คุณภาพของการตัดสินใจดีขึ น เนื่องจากกระบวนการปรึกษาหารือกับสาธารณชนจะช่วย
สร้างความกระจ่างให้กับวัตถุประสงค์และความต้องการของโครงการหรือนโยบาย และบ่อยครั งที่การมีส่วน
ร่วมของประชาชนน้ามาสู่การพิจารณาทางเลือกใหม่ๆ ที่น่าจะเป็นค้าตอบที่มีประสิทธิผลที่สุดได้
2) ใช้ต้นทุนน้อยและลดความล่าช้าลง แม้ว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมจะต้องใช้
เวลาและมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการตัดสินใจฝ่ายเดียว แต่การตัดสินใจฝ่ายเดียวที่ไม่ค้านึงถึงความต้องการแท้จริง
ของประชาชนนั น อาจน้ามาซึ่งการโต้แย้งคัดค้านหรือการฟ้องร้องกัน อันท้าให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในระยะ
ยาว เกิดความล่าช้า และความล้มเหลวของโครงการได้ในที่สุด
3) การสร้างฉันทามติ การมีส่วนร่วมของประชาชนจะสร้างข้อตกลงและข้อผูกพันอย่าง
มั่นคงในระยะยาวระหว่างกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกลุ่มต่างๆ ลดข้อโต้แย้งทาง
การเมืองและช่วยให้เกิดความชอบธรรมต่อการตัดสินใจของรัฐบาล