Page 22 - kpi20973
P. 22
21
การตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับโครงการที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกันในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงควรเข้าร่วม
ในกระบวนการนี ตั งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งถึงการติดตามและประเมินผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การรับรู้ เรียนรู้
และการปรับเปลี่ยนโครงการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
อรทัย ก๊กผล (2552 : 17) การมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation) หมายถึง การที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดให้ประชาชนเข้าไปร่วมในการก้าหนดกฎเกณฑ์ นโยบาย กระบวนการบริหาร
และตัดสินใจของท้องถิ่นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมของประชาชน
ต้องอยู่บนพื นฐานของการที่ประชาชนจะต้องมีอิสระทางความคิด มีความรู้ ความสามารถในการกระท้า และ
มีความเต็มใจที่จะเข้าร่วมต่อกิจกรรมนั นๆ
สรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง ความร่วมมือเพื่อกระท้ากิจกรรมที่เป็นนโยบาย
ซึ่งก้าหนดโดยรัฐบาล หรือก้าหนดโดยความคิดเห็นของชุมชนซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนมาก โดยกิจกรรม
ดังกล่าวนั น เป็นการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมกระท้าซึ่งส่งผลให้ตนเอง ครอบครัว และชุมชน
เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ รวมถึงการแก้ปัญหาของชุมชน จึงถือได้ว่าการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนนั นเป็นหัวใจส้าคัญของการพัฒนา และเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ นในชุมชน
2.1.2 ความส้าคัญของการมีส่วนร่วม
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2547: 17) กล่าวถึงความจ้าเป็นในการมีส่วนร่วมไว้ ดังนี
1) ประชาชนอยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์ รับทราบและเผชิญปัญหานั นๆ เอง เช่น การรณรงค์ลด
ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด การใช้สิ่งเสพติด ทุจริตการเลือกตั ง การคอร์รัปชัน ฯลฯ
2) เมื่อเข้าร่วมวิเคราะห์ปัญหาแล้ว ต่อไปก็คิดแก้ไขโดยการพึ่งตนเอง
3) ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่จ้ากัด ทุกคนมีความห่วงใย จึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมท้าให้
ประหยัดงบประมาณลงได้
4) เป็นหลักการบริหารบนพื นฐานของความสุจริตและยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
การให้มีส่วนร่วมจากประชาชนเสมือนการให้ตรวจสอบการท้างานของหน่วยงาน นอกจากนี การที่ชนกลุ่ม
ต่างๆ มีส่วนร่วม โดยร่วมในการค้นหาปัญหา ร่วมวางแผน ฯลฯ หมายถึง การได้ให้ความเป็นธรรมที่จะให้
พวกเขา ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึงยิ่งขึ น
5) ท้าให้เกิดฉันทามติที่คนทั งหลายทราบเหตุผลกันและกัน ก็มักจะเห็นพ้องที่จะเลือกทางที่ดี
ที่สุด
6) จ้าเป็นต้องมีตัวแทนหลายฝ่ายร่วมดูแลผลประโยชน์ของตน เพราะที่ผ่านมาผลประโยชน์
จากการพัฒนามักตกเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั น