Page 21 - kpi20973
P. 21

20



              หรือการด้าเนินการเพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อรองอ้านาจทางการเมือง เศรษฐกิจ การปรับปรุงสถานภาพทางสังคม

              ในกลุ่มชุมชน


                         บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล (2548 : 64) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมในระบอบ

              ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่อ้านาจในการตัดสินใจไม่ควรเป็นของกลุ่มคนจ้านวนน้อย

              แต่อ้านาจควรได้รับการจัดสรรในระหว่างประชาชน เพื่อทุกๆ คนได้มีโอกาสที่จะมีอิทธิพลต่อกิจกรรมส่วนรวม

                         คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ (2545 : 23) ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public


              Participation) หมายถึง การกระจายโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง และการบริหารเกี่ยวกับ
              การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ รวมทั งการจัดสรรทรัพยากรของชุมชนและของชาติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต


              และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยการให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น ให้ค้าแนะน้าปรึกษา ร่วมวางแผน
              ร่วมปฏิบัติ ตลอดจนการควบคุมโดยตรงจากประชาชน


                         ถวิลวดี บุรีกุล และ ปัทมา สูบก้าปัง (2554 : 16)  ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมของ

              ประชาชนไว้ในรายงานการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะว่า

              หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในกระบวนการนโยบายสาธารณะทั งในด้านการให้และรับรู้ข้อมูล

              ข่าวสาร การให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ การร่วมตัดสินใจ ทั งในขั นตอนการริเริ่มนโยบาย การจัดท้า

              แผนงาน โครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

              และสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั งการปฏิบัติ การติดตาม และประเมินผล

              ตามนโยบายแผนงานโครงการหรือกิจกรรมนั น


                         ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2551 : 3)  ให้ความหมายว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็น

              กระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะและเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่มีผล

              ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั งมีการน้าความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณา ก้าหนด

              นโยบายและการตัดสินใจของรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ

              เป็นการสื่อสารสองทาง ทั งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน

              ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม ทั งนี  เพราะการมีส่วนร่วมของ

              ประชาชนเป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจ การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลาเป็นการสร้างฉันทามติ

              และท้าให้ง่ายต่อการน้าไปปฏิบัติ


                         อรทัย ก๊กผล (2546 : 65) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ กระบวนการซึ่งประชาชน

              หรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะ แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกและ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26