Page 23 - kpi20973
P. 23
22
7) เพื่อให้ชุมชนและกลุ่มต่างๆ สนับสนุนต่อผลการตัดสินใจนั นๆ หรือในบางกรณีที่
หน่วยงานของรัฐไม่อยู่ในสถานะที่จะบังคับใช้การตัดสินใจนั นๆ ได้ หรือต้องได้รับความสมัครใจ สนับสนุนจาก
คนส่วนใหญ่ของชุมชนจึงจะสามารถด้าเนินการได้ มิฉะนั นกลุ่มที่คัดค้านอาจท้าให้โครงการล้มเลิกได้ จึงต้องให้
ชุมชนสนับสนุนโครงการให้มาก โครงการจึงยั่งยืน
8) เมื่อตัดสินใจอย่างไรแล้วจะเกิดผลกระทบที่ส้าคัญต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้ จึงต้อง
รับทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขให้รอบด้าน
9) ประชาชนอาจเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวของโครงการได้ถ้าไม่ให้มีส่วนร่วม เพราะต้อง
เป็นผู้ปฎิบัติ เช่น รณรงค์ลดปริมาณขยะ งดสูบบุหรี่ หรือเลิกดื่มสุรา เป็นต้น
ดังนั น การมีส่วนร่วมในทุกขั นตอนตั งแต่การร่วมคิด วางแผน ด้าเนินการ ประเมินผล แก้ไขปัญหา
และรับผลประโยชน์ จึงจ้าเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันที่จะท้าให้กิจกรรมหรือโครงการนั นประสบผลส้าเร็จ
2.1.3 ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน
อรทัย ก๊กผล (2552 : 26-27) ได้กล่าวถึง ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วน
ร่วมของประชาชนไม่ว่าจะในหน่วยงานใดก็ตามเป็นสิ่งที่ปรารถนา เพราะการมีส่วนร่วมมีคุณประโยชน์
หลากหลาย อย่างไรก็ตามประโยชน์ที่จะได้จากการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ นอยู่กับความจริงใจและความ
จริงจังในการด้าเนินการ ประโยชน์โดยทั่วไป คือ
1) เพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ : การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข่าวสารและ
ความคิดเห็นต่างๆ จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ครบถ้วนรอบคอบมากขึ น นอกจากนั นยังช่วยให้
เกิดทางเลือกใหม่ ท้าให้การตัดสินใจรอบคอบได้รับการยอมรับมากขึ น โดยเฉพาะการตัดสินใจที่กระทบกับ
ประชาชนโดยตรง
2) ลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา : เมื่อการตัดสินใจนั นได้รับการยอมรับ ประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมตั งแต่การรับทราบข้อมูลค้าอธิบายต่างๆ เห็นประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับ จะช่วยลดความขัดแย้ง
ระหว่างการน้าไปปฏิบัติ แน่นอนว่ากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมีค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลา แต่เมื่อ
ประชาชนยอมรับการน้าโครงการไปสู่การปฏิบัติจะรวดเร็วขึ น
3) การสร้างฉันทามติ : ส้าหรับสถานการณ์ปัจจุบันการสร้างฉันทามติอาจเป็นเรื่องยาก
สังคมเรากลายร่างเป็นพหุลักษณ์และต้องยอมรับความหลากหลายแตกต่างทางกลไกที่ช่วยให้ความแตกต่างนั น
ได้มีการแลกเปลี่ยน คือ กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในหลักการเราเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน
อาจช่วยป้องกันความขัดแย้งได้ แต่ในสังคมไทยที่ผ่านมาภาครัฐมักด้าเนินการตัดสินใจไปก่อน เมื่อประชาชน
ต่อต้านจึงจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งช้าไปแล้ว หากเกิดเป็นความขัดแย้งขึ นจ้าเป็นต้องใช้