Page 82 - kpi20899
P. 82

“การถอดบทเรียนชุมชนเพื่อการปฏิรูปกระบวนการจัดการทรัพยากร : พลวัตแห่งการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน ้า
                        ในพื นที่ต้าบลหนองพันจันทร์ อ้าเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี”  โดย  ดร.ปริชัย ดาวอุดม และนายเจษฎา เนตะวงศ์







                         4.5.3 ทุนทางสังคมกับการตระหนักในสิทธิชุมชน


                             จากการศึกษาชุมชนหนองพันจันทร์และความพยายามที่จะตีความความคิดความเชื่อของ

                  ชาวบ้านที่ชุมชนแห่งนี้ ค้าว่าสิทธิชุมชนหรือความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้แทบจะไม่มีอยู่ในมโนทัศน์ของ

                  ชาวบ้าน ผู้น้าชุมชนหรือแม้แต่ปราชญ์ชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย แต่นั่นมิได้หมายความว่าชาวหนองพันจันทร์

                  จะไม่ตระหนักในสิทธิชุมชน หากแต่พวกเรามีความตระหนักในสิทธิชุมชนขั้นสูงสุด กล่าวคือความรู้สึกเป็น

                  เจ้าของ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ทรัพยากรน้้า พวกเขารู้สึกว่าน้้านั้นเป็นของพวกเขา เป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึง

                  ปัจจุบัน ถึงที่สุดน้้าเป็นของที่มาจากธรรมชาติ แต่พวกเขาคือผู้ดูแลธรรมชาติ ความเชื่อเช่นนี้มีผลอย่างยิ่ง

                  ที่ท้าให้การมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ เป็นไปอย่างดียิ่ง แต่การตระหนักในสิทธิชุมชนดังกล่าวนั้น

                  จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีการสั่งสมทุนทางสังคมมาอย่างยาวนาน


                             จิตส้านึกร่วมที่คนในชุมชนตั้งแต่ยุคบุกเบิกได้ร่วมสร้างกันขึ้นมา เกิดจากความเอื้อเฟื้อ เผือแผ่
                  แบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม ความเห็นอกเห็นใจและการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับวิถีชีวิตและการท้ามาหากินที่ติด


                  อยู่กับพื้นที่ คนในชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการศึกษาและการเข้าใจธรรมชาติ ทรัพยากร ภูมิประเทศ
                  ภูมิอากาศ นอกจากจะท้าให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันกับผู้คนที่อยู่รอบกายและร่วมล้าบากด้วยกัน


                  แล้ว จิตส้านึกร่วมนี้ยังท้าให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของดิน น้้า ป่าไม้ สัตว์ป่า พันธุ์พืช ปลาในน้้า นกในอากาศ
                  และสิ่งที่อยู่รอบตัวพวกเขาแบบเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน การมีตัวตนของพวกเขาในพื้นที่ชุมชนจึงแยก


                  ไม่ออกกับสมาชิกในชุมชนคนอื่น และทรัพยากรในชุมชน

                             การถ่ายทอดเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น ก็เป็นอีกเงื่อนไขส้าคัญที่ท้าให้เรื่องราวเหล่านี้ถูกส่งต่อให้

                  คนรุ่นถัดมา กระบวนการทางสังคมของชาวหนองพันจันทร์ทั้งหมดในการส่งทอดเรื่องราว การรับรู้และ

                  ความรู้ที่คนรุ่นก่อนได้สะสมไว้ จึงนับว่าเป็นการศึกษาในระบบสังคมของหนองพันจันทร์ที่เป็นการเรียนรู้

                  ตลอดชีวิต ประกอบกับผู้คนที่เข้ามาในยุคบุกเบิกยังมีชีวิตอยู่เป็นส่วนใหญ่ก็ยิ่งท้าให้การเรียนรู้เรื่องราวและ

                  การถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างจิตส้านึกร่วมในความเป็นเจ้าของทรัพยากรด้าเนินต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง และ

                  เป็นที่มั่นใจได้ว่า คนในเจนเนอเรชั่นที่ 3-4 ของหนองพันจันทร์จะยังคงมีจิตส้านึกร่วมนี้ต่อไป

















                                                            81
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87