Page 362 - kpi20858
P. 362
320
เตลิด สุวรรณสามแย้งว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนของตน พระราชาทรงละอายพระทัยที่ตรัสความเท็จ จึงตรัส
ตอบว่า เป็นเพราะความโง่เขลาของตนเอง และถามสุวรรณสามต่อว่าอยู่กับใคร สุวรรณสาม ตอบพระราชาว่า
อยู่กับบิดามารดาซึ่งตาบอด เมื่อถูกยิงเช่นนี้จะไม่มีใครดูแล แล้วก็ร้องไห้ด้วยความทุกข์ใจ พระราชาทรงเสีย
พระทัยที่ท าร้ายผู้มีความกตัญญูสูงสุด รับดูแลปรนนิบัติบิดามารดาของสุวรรณสามเอง พระราชากบิลยักข
ราชจึงน าหม้อน ้าที่สุวรรณสามตักไว้ออกเดินทางไปศาลาที่สุวรรณสามบอก ครั้นไปถึงพระราชาจึงตรัสเล่า
เหตุการณ์ด้วยความเศร้า ดาบสทั้งสองได้ยินดังนั้นก็เสียใจอ้อนวอนพระราชาให้พาไปหาสุวรรณสาม เมื่อไป
ถึงต่างตั้งสัตยาธิษฐาน ขอให้สุวรรณสามฟื้นขึ้นมา ทันใดนั้น สุวรรณสามก็พลิกกายฟื้นตื่นขึ้น หายจาก พิษธนู
โดยสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้นดวงตาของพ่อและแม่ ของสุวรรณสามก็กลับแลเห็นเหมือนเดิม
จากภาพเป็นการแสดงฉากตอนขณะที่สุวรรณสามออกมาตักน ้าที่ริมน ้า และถูกลูกธนูล้มลง จากนั้น
พระราชากบิลยักขราช แสดงตัวออกจากที่ซ่อนมายืนอยู่ที่ข้างกายของสุวรรณสาม เบื้องหลังแสดงภาพเนื้อ
สองตัวก าลังวิ่งหายเข้าไปที่ระยะหลัง ซึ่งเป็นป่า
รูปทรง การวิเคราะห์
รูปทรงมนุษย์ภายในภาพประกอบชายเส้นของสมเด็จพระเจ้า
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แสดงความ
งามของเส้นสายอันอ่อนช้อย งดงาม พระราชากบิลยักขราช ก้าว
ย่างเข้ามาหาสุวรรณสามด้วยลีลาอ่อนช้อย มีลักษณ์ท่าทาง
ลายเส้นอ่อนหวานตามขนบนิยมของจิตรกรรมไทย ทว่ามี
สัดส่วน และกล้ามเนื้อ ตามหลักกายวิภาคแบบจิตรกรรม
ตะวันตก ดังนั้นรูปทรงที่ปรากฏทั้งหมดจึงมีรูปแบบจิตรกรรม
ไทยแนวตะวันตก
มุมมองและระยะ การวิเคราะห์
มีการน าเสนอมุมมองในระดับสายตาปกติ ที่ระยะหน้าของภาพ
ปรากฏรูปทรงขอบสุวรรณสาม และ กษัตริย์ ในระยะถัดไป
ปรากฏภาพเนื้อ 3 ตัว พ่อ แม่ ลูก ก าลังวิ่งเข้าไปในระยะหลังซึ่ง
เป็นป่า การสร้างระยะภายในผลงานชิ้นนี้พบว่ามีการก าหนด
ขนาดของรูปทรงเพื่อเป็นการผลักระยะ นอกจากนี้ยังใช้ทัศนีย
วิทยาเชิงเส้น โดยสร้างเส้นทแยง มีผลท าให้ภาพเกิดความลึก
ยิ่งขึ้น สัมพันธ์กับร่างของสุวรรณสาม ที่มีทิศทางสัมพันธ์กับ
เส้นทแยงดังกล่าว ส่งเสริมให้เกิดมิติความลึกมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้
เมื่อพิจารณาถึงการน าเสนอรูปทรงของสุวรรณสามนั้น พบว่า มี
การใช้ทัศนียวิทยาแบบหดสั้น เพื่อแสดงความถูกต้องสมจริง
ตามหลักกายวิภาคร่วมด้วย