Page 361 - kpi20858
P. 361

319





                              4.1.2.3.1.2 รูปแบบ

                              มีการควบรวมเอาความงามแบบตะวันตกและตะวันออกมาสร้างสรรค์ใหม่  จนเกิดสกุลช่าง

                       แบบสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และได้ยกย่องพระองค์ให้เป็น
                       “สมเด็จครู” หรือ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์”



                            1.ภาพลายเส้นฝีพระหัตถ์ เรื่องสุวรรณสามชาดก           รายละเอียดภาพ


                                                                      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรา

                                                                      นุวัดติวงศ์, ภาพลายเส้นฝีพระหัตถ์ เรื่อง
                                                                      “สุวรรณสามชาดก”, พ.ศ.2469


                                                                      ที่มาภาพ: หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ, พระ

                                                                      ประวัติและฝีพระหัตถ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรม
                                                                      พระยานริศรานุวัดติวงศ, พิมพ์สนองพระเดช
                                                                      พระคุณในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ พระ

                                                                      เมรุท้องสนามหลวง, 2493, ไม่ปรากฏเลขหน้า.






                        ครั้งหนึ่ง มีสหายสองคนรักใคร่กันมาก ฝ่ายหนึ่งมีลูกชายชื่อว่า ทุกูลกุมาร อีกฝ่ายหนึ่งมีลูกสาวชื่อว่า ปาริกา

                        กุมารี  ต่อมาแต่งงานกัน  แต่ทั้งสองไม่เคยประพฤติต่อกันฉันสามีภรรยา  แต่มีความปรารถนาร่วมกันคือการ
                        ออกบวช  จึงพากันเดินทางไปสู่ป่าใหญ่ ด ารงตนอย่างดาบสบ าเพ็ญธรรมอยู่ ณ ศาลาในป่า วันหนึ่งพระอินทร์
                        ตรัสบอกแก่ดาบสว่าให้มีบุตรเพื่อปรนนิบัติในยามยากล าบาก  และแนะให้เอามือลูบท้องนางปาริกาดาบสินี

                        เพื่อให้ตั้งครรภ์ ครั้นครบก าหนด ก็คลอดบุตรมีผิวพรรณงดงามราวทองค าบริสุทธิ์ จึงได้ชื่อว่า "สุวรรณสาม”
                                  วันหนึ่ง เมื่อทุกูลดาบสและนางปาริกาออกไปหาผลไม้ในป่า ได้ถูกพิษร้ายของงูเข้าตาทั้งสองคน ท าให้

                        ตาบอด (ซึ่งเกิดจากกกรรมเก่าในอดีตชาติ) สุวรรณสามจึงออกเดินตามหาในที่สุดก็ได้พบ เมื่อฟังบิดามารดา
                        เล่าเหตุการณ์ สุวรรณสามก็ร้องไห้ แล้วก็หัวเราะ บิดามารดาจึงถามว่าเหตุใดจึงร้องไห้แล้วก็หัวเราะ สุวรรณ

                        สาม  ตอบว่าร้องไห้เพราะเสียใจที่บิดามารดาตาบอด  แต่หัวเราะเพราะดีใจที่จะได้ตอบแทนพระคุณ  จากนั้น
                        สุวรรณสามก็เป็นเรี่ยวแรงหลักในการดูแลบิดามารดา
                                  สุวรรณสามเป็นผู้มีเมตตาจิต  สัตว์ทั้งหลายต่างพากันไว้วางใจ  วันหนึ่งพระราชาแห่งเมืองพาราณสี

                        นามว่า "กบิลยักขราช" เสด็จออกล่าสัตว์ ขณะนั้นสุวรรณสามมาตักน ้า โดยมีฝูงสัตว์เดินตามมาด้วย พระราชา
                        กบิลยักขราชยิงด้วยธนูเข้าที่ล าตัวจนสุวรรณสามล้มลงกับพื้น แต่ยังไม่ถึงตายจึงเอ่ยถามสาเหตุของการยิงตน

                        กบิลยักขราชจึงออกจากที่ซุ่มแสร้งตรัสเท็จว่าตั้งใจจะยิงเนื้อเป็นอาหาร  แต่โกรธที่สุวรรณสามท าให้สัตว์หนี
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366