Page 357 - kpi20858
P. 357

315





                       4.1.2.2 จิตรกรรมทิวทัศน์

                              4.1.2.2.1 พระยาอนุศาสน์ จิตรกร

                              4.1.2.2.1.1 ภูมิหลัง

                              ภาพจิตรกรรมภาพทิวทัศน์ ชื่อ “สะพานหัน” น าเสนอด้วยเทคนิคสีน ้ามันชิ้นนี้เป็นของพระ

                       ยาอนุศาสน์ จิตรกร สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2471 ขนาด 43x56 ซม. ปัจจุบันเป็นสมบัติของ จีระ จิตรกร

                       บุตรชายคนเล็กของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร เป็นผู้เก็บรักษา

                              แนวทางการท างานของพระยาอนุศาสน์  จิตรกรคือ  มีการเตรียมอุปกรณ์และเดินทางออก

                       ไปวาดภาพนอกสถานที่ บันทึกภาพความประทับใจด้วยการเขียนภาพ เมื่อครั้งวัยเยาว์ จีระ จิตรกร

                       บุตรชายได้มีโอกาสพบเห็นอุปกรณ์  ทั้งขาตั้งผ้าใบส าหรับเขียนภาพและหลอดสีต่างๆ  ซึ่งสันนิษฐาน

                       ว่าเป็นหลอดสีน ้ามัน  เพราะพระยาอนุศาสน์  จิตรกรมีความเชี่ยวชาญการเขียนภาพสีน ้ามัน  โดย
                       สามารถพบเห็นผลงานชิ้นส าคัญ  ทั้งวัดสามแก้วและวัดสุวรรณดาราราม  ตลอดจนผลงานชิ้นนี้ที่มี

                       การเขียนภาพด้วยเทคนิคสีน ้ามัน นอกจากนี้ จีระ จิตรกร ยังได้พบเห็นผลงานจิตรกรรมของผู้เป็น

                       บิดาทั้งภาพเหมือนบุคคล  และภาพทิวทัศน์จ านวนมาก  ทว่าในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาแห่งความ

                       ขัดแย้งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบ้านของพระยาอนุศาสน์ได้รับผลกระทบจากการทิ้งระเบิด เป็น
                       เหตุให้ผลงานจิตรกรรมต่างๆ  ที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นนั้นเกิดพังเสียหาย  หลงเหลือเพียงผลงานชื่อ

                       “สะพานหัน” เพียงภาพเดียวเท่านั้น


                              การเขียนภาพทิวทัศน์ของพระยาอนุศาสน์  จิตรกรเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงค่า

                       นิยมด้านศิลปะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี  โดยพบว่าเริ่มมี
                       แนวคิดปัจเจกนิยม  ที่มุ่งสะท้อนสิ่งที่ตนเองมีความสนใจเฉพาะด้าน  น าเสนอัตลักษณ์ในการสร้าง

                       งานศิลปะอย่างเป็นปัจเจกเฉพาะตน  ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้อง

                       การของตนเอง ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากการรับเอาอิทธิพลด้านศิลปะจากชาติตะวันตก


                              4.1.2.2.1.2 รูปแบบ

                              ผลงานของพระยาอนุศาสน์ จิตรกร แสดงออกในรูปแบบจิตรกรรมแบบตะวันตก โดยมี

                       ความเหมือนจริง น าเสนอกายวิภาคมนุษย์ สร้างระยะด้วยทัศนียวิทยา และมีการลงสี และแสงเงา

                       เพื่อสร้างภาพและรูปทรง ซึ่งสารมารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362