Page 353 - kpi20858
P. 353

311





                              4.1.2.1.3 หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล

                              4.1.2.1.3.1 ภูมิหลัง

                              หม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขา ดิศกุล เป็นพระธิดาองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรม

                       พระยาด ารงราชานุภาพ  กับหม่อมเฉื่อย  ท่านหญิงมีความสนพระทัยในงานด้านศิลปะเป็นพิเศษ

                       ท าให้ท่านแตกต่างไปจากสตรีร่วมสมัยในขณะนั้น  ความสนใจของท่านได้รับการส่งเสริมจากพระ
                       ราชบิดา ตลอดจนพระญาติใกล้ชิด คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติ

                       วงศ์ ซึ่งเปรียบเสมือนครูศิลปะที่คอยให้ค าแนะน า


                              พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะของหม่อมเจ้าหญิงพิไลยเลขานั้น  เกิดจากความสนพระทัย
                       และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากบุคคลผู้มีความรู้ทางศิลปะอย่างต่อเนื่อง  จากศิลปินชาวต่าง

                       ประเทศหลายท่านที่เดินทางเข้ามารับราชการในสยาม เช่น นายซี. ริโกริ (Carlo Rigoli) ช่างเขียน

                       ชาวอิตาเลียน ผู้ท างานใกล้ชิดกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ นาย

                       อี. มันเฟรดี้ (Ercole Manfredi) และนายอี. ฟอร์โน (Emilio Forno) ผู้มีบทบาทต่อในการสร้างงาน
                       ศิลปะของท่านหญิงในยุคแรกเริ่มของการสร้างสรรค์ เนื่องจานายฟอร์โน ได้ถวายค าสอนทั้งเทคนิค

                       สีน ้า  สีชอล์ก  และสีน ้ามันอย่างใกล้ชิด  นอกจากนี้มีนายลุซซี  ช่างเขียน  ตลอดจนเมื่อเกิดการ

                       เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475  ทรงตามเสด็จพระราชบิดาไปปีนัง นาย ซี. เฟโรจี หรือ

                       คอร์ราโด เฟโรจี (Corado Feroci) ช่างปั้น ได้ถวายค าแนะน าแก่ท่านหญิงในการสร้างงานศิลปะ

                       แบบตะวันตกตามหลักวิชาการต่อมา

                              ท่านหญิงทรงสร้างงานศิลปะเป็นงานอดิเรก  โดยสนพระทัยงานด้านจิตรกรรมมากเป็น

                       พิเศษ ทักษะที่ท่านที่มีล้วนเกิดจากพรสวรรค์และความตั้งใจจริง ขณะนั้นท่านมีสตูดิโอซึ่งเป็นพื้นที่

                       ส าหรับสร้างงานศิลปะ  เรียก  “ต าหนักเลขา”  มูลเหตุจูงใจส าคัญที่ท าให้ท่านหญิงเกิดความสน
                       พระทัยในการวาดภาพนั้น  เกิดจากการที่ได้ทอดพระเนตรรูปวาดอิเหนาที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

                       จนเกิดความบันดาลใจ  จากนั้นท่านหญิงได้สร้างผลงานจิตรกรรมอันทรงคุณค่าไว้จ านวนหนึ่ง  มี

                       เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับภาพเหมือนบุคคล  ภาพทิวทัศน์  ภาพสัตว์  และภาพหุ่นนิ่ง  ด้านกลวิธี  และ

                       รูปแบบของการสร้างสรรค์นั้น เป็นไปตามแบบแผนของการสร้างสรรค์อย่างตะวันตกโดยแท้

                              ผลงานจิตรกรรมภาพเหมือนบุคคลชื่อ “หม่อมเจ้าพิไลยเลขา ดิศดุล” สร้างเมื่อปี พ.ศ.2476

                       ด้วยเทคนิคสีน ้ามัน  ขนาด  86.5  x43  ซม.  ปัจจุบันเป็นผลงานสะสมในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

                       ถนนเจ้าฟ้า  กรุงเทพมหานคร  ผลงานชิ้นนี้ท่านหญิงทรงวาดภาพเหมือนพระองค์เอง  ผ่านการมอง

                       ภาพสะท้อนทางกระจกเงา  เป็นผลงานชิ้นส าคัญของท่านหญิงที่สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ  เจ้าฟ้า
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358